หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

โรคภาวะโลหิตจาง

เรื่อง ภาวะโลหิตจาง ( Anemia )                                                       
บทนำ
ภาวะโลหิตจางเป็นปัญหาทางโลหิตวิทยาที่พบบ่อยที่สุด เป็นปัญหาทางสาธารณสุขระดับประเทศรวมทั้งระดับโลก เนื่องจากมีอุบัติการณ์ของการเกิดสูง อุบัติการณ์การเกิดภาวะโลหิตจางพบได้บ่อย ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา และมักจะเกิดปัญหากับเด็กซึ่งเป็นกำลังสำคัญของอนาคตชาติ   (สุจินดา ริมศรีทอง, 2552)                                                                                        
โลหิตจาง หรือ ซีด หรือ ที่หลายๆคนเรียกว่า เลือดน้อย คือ การที่ปริมาณเม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบินลดลงจากปกติ ซีดอาจเกิดจากหลายสาเหตุ                                                                                                 -ซีดจากการขาดสารอาหาร อาจเกิดจางการรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ซึ่งอาจเกิดจากการเบื่ออาหาร โรคประจำตัวบางอย่างเลือกรับประทานอาหารหรือปัญหารายได้ไม่เพียงพอ ก็อาจเกิดภาวะโลหิตจางได้             - ซีดจางการสูญเสียเลือด เช่นการเสียเลือดออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว หรือเหมือนเม็ดเลือดแดงถูกทำลายแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง เช่น โรคกระเพาะอาหาร โรคริดสีดวงทวาร โรคหลอดเลือดโป่งพอง มะเร็งลำไส้ เป็นต้น-ซีดจากโรคเรื้อรัง เช่น ไตวาย โรคตับ ข้ออักเสบ เป็นต้น ทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยกว่าปกติ                                                                                                                                                      -ภาวะซีดที่เกิดจากภายในไขกระดูก ผิดปกติ เช่น โลหิตจางไขกระดูกฝ่อ มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคไขกระดูกทำงานผิดปกติ โรคมะเร็งชนิดต่างๆกระจายเข้ากระดูก การติดเชื้อ เช่น วัณโรค เชื้อรา
  ภาวะโลหิตจางเกิดจากสาเหตุหลายประการ ทั้งทางพันธุกรรม และสาเหตุจากภายนอกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในร่างกายทำให้เกิดผลได้ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง                 


สาเหตุจากพันธุกรรม จะต้องรับกรรมพันธุ์ที่ปกติมาจากทั้งฝ่ายพ่อและ แม่ (ซึ่งอาจไม่มีอาการแสดง) ถ้ารับจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว จะไม่มีอาการแสดงแต่จะมีกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติอยู่ในตัวและสามารถถ่ายทอดไป ยังลูกหลานต่อไป ในบ้านเราพบว่ามีกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติของโรคนี้ โดยไม่แสดงอาการเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนอีสาน อาจมีถึง 40% ของประชากรทั่วไปที่มีกรรมพันธุ์ของโรคนี้ ส่วนผู้ที่มีอาการของโรคนี้อย่างชัดๆ มีประมาณ 1 ใน 100 คน ( ถนอมศรี ศรีชัยกุล,2529 )โรคนี้อาจแบ่งออกเป็นหลายชนิด ซึ่งมีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันไป                                                                     
สาเหตุจากภายนอกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย                                                   -เกิดจากการสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง ซึ่งอาจเกิดจากการขาดสารอาหารที่จำเป็นในการสร้าเม็ดเลือดแดง เช่นขาดธาตุเหล็ก โฟเลต วิตามินบี 12 โรคไขกระดูกฝ่อ (Aplastic Anamia ) โรคที่มีเซลล์มะเร็งในกระดูก                                                                                                                                                               -การสูญเสียเม็ดเลือดแดงจากกระแสโลหิต คือการเสียเลือดทั้งชนิดเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง การที่เม็ดเลือดแดงถูกทำลายไปเร็วกว่าปกติ เช่น โรคที่ร่างกายต่อต้านเม็ดเลือดแดงของตนเอง  และภาวะพร่องเอ็นไซม์ G6PD(Glucose-6-Phophate Dehydrogenase) 
ผู้ป่วยภาวะโลหิตจางจะพบว่ามีจำนวนเม็ดแดงลดน้อยลง บางชนิดถ้ามีการรักษาที่ถูกวิธีก็อาจหายขาดจากภาวะโลหิตจาง เช่น โลหิตจางจากการสารอาหารที่จำเป็น และการการเสียเลือดเฉียบพลันและเรื้อรัง และถ้ารักษาไม่หายขาด เช่น โลหิตจางจากการเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ จะรักษาแบบประคับประครอง หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอยากต่อเนื่องและถูกวิธี ก็จะสามารถดำรงชีวิตเหมือนคนปกติได้ การวินิจฉัยภาวะโลหิตจางได้จากการตรวจร่างกายว่ามีภาวะซีดกว่าคนปกติ และจากการตรวจเลือดดูค่าฮีโมโกลบิน และค่าฮีมาโตคริท แต่ละเพศละวัยจะมีค่าแตกต่างกัน ต่ำกว่าปกติ ถือว่ามีเลือดจาง หลังจางนั้นก็หาสาเหตุของโลหิตจาง เพื่อการรักษาได้ตรงตามสาเหตุ

                                                                                                           


เรื่อง ภาวะโลหิตจาง Anemia
ความหมายของภาวะโลหิตจาง
ความหมายโลหิตจางเป็นภาวะความผิดปกติที่เม็ดเลือดแดงในกระแสเลือดต่ำกว่าปกติ ทำให้ปริมมาณฮีโมโกลบินที่นำออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อของร่างกายลดลงในทางปฎิบัติการวินิจฉัยภาวะโลหิตจางใช้ระดับฮีโมโกลบินเป็นเกณฑ์ ทั้นนี้ขึ้นกับปัจจัย เพศและอายุ โดยทั่วไปจะถือว่าผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจาง เมื่อระดับฮีโมโกลบินน้อยกว่าปกติของอายุ เพศร้อยละ 10
                                                             ฮีโมโกลบิน (กรัม%)             ฮีมาโตคริท (%)
เด็กอายุ 6 เดือน - 6 ปี                                      11.0                                      33                                      
เด็กอายุ 6 ปี – 14 ปี                                         12.0                                      36
ผู้หญิง                                                             12.0                                      36
ผู้ชาย                                                               13.0                                     40





สาเหตุของภาวะโลหิตจาง
            ภาวะที่มีการสูญเสียเลือดออกจางร่างกาย หรือมีโรคที่ทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ ร่างกายจะมีการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นทั้งในและนอกไขกระดูก การสร้างทดแทนนี้จะมากกว่าปกติถึง 8เท่า เพื่อไม่ให้เกิดภาวะโลหิตจาง แต่ถ้ามีการทำลายเม็ดเลือดแดงมากไขกระดูกสร้างทดแทนไม่ทันก็อาจเกิดภาวะโลหิตจางได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า การเกิดภาวะโลหิตจางเกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือดแดง การทำลายเม็ดเลือดแดง การสูญเสียเลือด ดั้งนั้นสาเหตุที่ทำให้เกิดโลหิตจาง มีดั้งนี้

1.ความสามารถในการสร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูกลดลง ซึ่งอาจเกิดจาก
1.1 เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดแดงลดน้อยลง เช่น ไขกระดูกฝ่อทำให้เกิดโลหิตจาง อะพลาสติค
(apiastic anemia)
1.2    มีเซลล์อื่นเข้าไปแทรกแทนที่ในไขกระดูก ทำให้เซลล์ปกติมีปริมาณน้อยลง เช่นมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) หรือมะเร็งแพร่กระจายไปที่ไขกระดูก
1.3    ขาดสารที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง หรือฮีโมโกลบิน เช่นขาดธาตุเหล็กทำให้เกิดโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
1.4    ความผิดปกติของการเจริญเติบโตของเม็ดเลือดแดง โดยไขกระดูกสามารถสร้างเม็ดเลือดแดงตัวอ่อนได้แต่เม็ดเลือดแดงเหล่าตายตั้งแต่อยู่ในไขกระดูก ไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นเม็ดเลือดแดงตัวแก่ได้  เช่นโลหิตจางที่เกิดจางการสร้าง DNA
1.5    มีการสร้างอิริโทรปอยอิติน (erythropoietin) น้อยลงเนื่องจากมีภาวะหรือโรคบางโรคที่ทำให้เกิดการสร้างอิริโทรปอยอิตินลดลงได้แก่
-                   ภาวะที่มีการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง โรคเอดส์ หรือมะเร็งเป็นต้น
-                   โรคไต เช่นไตวายระยะสุดท้าย ไตอักเสบ
-                   ภาวะที่มีเมตาบอลิซึมลดลง เช่น การขาดโปรตีน ต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ ได้แก่ ต่อนธัยรอยด์ทำงานนัอยกว่าปกติ ต่อมพิทูอิตารีทำงานน้อยกว่าปกติ ต่อมพาราธัยรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ
2.            มีการทำลายเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นทำให้เกิดโรคโลหิตจางที่เรียกว่า Hemolytic Anemia  ซึ่งอาจแบ่งตามตำแหน่งที่เม็ดเลือดแดงแตกในที่ต่างๆ เช่น การแตกของเม็ดเลือดแดงในผนังหลอดเลือด และการแตกของเม็ดเลือดแดงนอกหลอดเลือด โรคที่ทำลายเม็ดเลือดแดง
แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

2.1 โรคทางพันธุกรรม ได้แก่
      2.1.1  โรคที่มีความผิดปกติของผนังหลอดเลือดแดง
      2.1.2   ธาลัสซีเมีย (thaiassemia) ในเป็นโรคที่มีความผิดปกติในการสร้าง ฮีโมโกลบิน
      2.1.3  โลหิตจางที่เกิดจากการพร่องเอ็นไซม์ G6PD เป็นโรคที่มีความผิดปกติของเอ็นไซม์ในเม็ดเลือดแดง
2.2 โรคที่เกิดขึ้นในภายหลัง ได้แก่
     2.2.1 โลหิตจางที่ร่างกายสร้างเอนติบอดี้ต่อต้านเม็ดเลือดแดงของตนเอง
     2.2.2 โรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ
2.2.3                ภาวะที่เม็ดเลือดแดงแตก เนื่องจากการกระทบกับผนังหลอดเลือดที่ผิดปกติ



3.การเสียเลือด
ส่วนใหญ่มักเกิดจากการเสียเลือดเฉียบพลัน ซึ่งอาจเป็นการเสียเลือดนอกร่างกาย เช่น อุบุติเหตุ และการเสียเลือดภายในร่างกาย เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ไอเป็นเลือด ตกเลือดทางสูติ-นารีเวช ส่วนการเสียเลือดเรื้อรัง ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้เช่นเดียวกันเช่นมีพยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ริดสีดวงทวาร หรือการมีประจำเดือนมากกว่าปกติ เป็นต้น
พยาธิสภาพของภาวะโลหิตจาง
            เมื่อมีโลหิตจางเกิดขึ้นไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตามทำให้ฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื้อต่างๆ ของร่างกายลดลง จึงเกิดภาวะเนื้อเยื้อพร่องออกซิเจน ร่างกายจะพยายามปรับตัวเพื่อให้อวัยวะต่างๆ ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ โดยกลไกการปรับตัวที่เกิดขึ้นได้แก่
1.            ฮีโมโกลบินปล่อยออกซิเจนให้แก่เนื้อเยื่อเนื้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 90 ซึ่งจะเท่ากับ ฮีโมโกลบิน          9.5 g/dl ในภาวะปกติ
2.            เพิ่มปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจใน 1 นาที โดยมีการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ หรือปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจแต่ละครั้ง
3.            ปรับให้ปริมาณพลาสมาให้ปกติหรือใกล้เคียงปกติ
4.            ปรับสัดส่วนของเลือดไปยังอวัยวะที่สำคัญๆ ซึ่งต้องการออกซิเจมมาก เช่น หัวใจ สมอง ไต ให้มากขึ้น ส่วนอวัยวะที่สำคัญน้อย เช่น ผิวหนังจะมีปริมาณเลือดไหลผ่านน้อยลง นอกจากนี้ปริมาณปอดก็ทำงานเพิ่มขึ้นทำให้หายใจเร็วขึ้น
แม้ร่างกายจะพยายามปรับให้เต็มที่แล้ว แต่ไม่สามารถชดเชยได้เพียงพอ จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการต่างๆ ได้แก่ อาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หน้ายเฉมืด เป็นลม ขาดสมาธิ มึนงง สับสน เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก อาการหายใจเร็ว อาการใจสั่น ถ้าเป็นอยู่นานๆ อาจทำให้หัวใจล้มเหลวได้โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ บวม นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ เบื่ออาการ แน่นท้อง ท้องอืด ท้องผูก ซึ่งความรุนแรงของกลุ่มอาการดังกล่าวจะมากหรือน้อยขึ้นกับ
1. ความเร็วของการเกิดโลหิตจาง ผู้ป่วยมีโลหิตจางแบบเฉียบพลัน เช่น จากการเสียเลือดจำนวนมากในระยะเวลาสั้น จะมีอาการของโรคโลหิตจางชัดเจน ตรงข้ามกับผู้ป่วยโลหิตจางแบบค่อยเป็นค่อยไป จะมีไม่ชัดเจน เช่นผู้ป่วยโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก หรือวิตามินบี 12 จะมีอาการไม่ชัดเจนแม้มีโลหิตจางมาก
2.  โรคี่พบอยู่เดิมและอายุของผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคหัวใจ โรคปอดหรือโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด จะมีอาการของโลหิตจางอย่างชัดเจน
แนวทางในการประเมินสภาพผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจาง
          การประเมินผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางจะต้องอาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจทาง ห้องปฎิบัติการ เพื่อช่วยวินิจฉัยปัญหาและสาเหตุ ของภาวะโลหิตจางนี้
1.1    ประวัติเกี่ยวกับกลุ่มอาการที่เกิดจากโลหิตจาง ระยะเวลาการเกิด อาการผู้ป่วยที่เกิด อาการต่างๆ ของโลหิตจางอย่างรวดเร็วเวลาเป็นวันหรือสัปดาห์ ทำให้นึกถึงผู้ป่วยภาวะโลหิตจางจากการเสียเลือดหรือจากการแตกทำลายเม็ดเลือดแดง ตรงข้ามกับผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางจากการที่ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงไม่ได้ โลหิตจางจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ นานเป็นเดือน
ประวัติที่บ่งถึงสาเหตุของโลหิตจาง
1.1.1                การเสียเลือดในระบบทางเดินอาหาร เช่นการถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ อาการปวดแน่นท้อง ทำให้เกิดการเสียเลือดเรื้อรัง
1.1.2                การมีประจำเดือนและการมีบุตร การถามประวัติเกี่ยวกับการเสียเลือด ในแต่ละรอบเดือนในสตรีวัยเจริญพันธุ์ มีความสำคัญต่อการวินิจฉัยภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ผู้ป่วยที่มีประวัติตั้งครรภ์ติดต่อกันหลายครั้ง โดยเฉพาะสตรีครรภ์แฝด
1.1.3                ยาและสารพิษ ประวัติการใช้ยามีความสำคัญอย่างยิ่งในการวินิจฉัยสาเหตุของโลหิตจาง ยาที่สำคัญ ได้แก่ ยาแก้ปวดแอสไพริน ซึ่งมักใช้กันอย่างแพร่หลาย  จะทำให้เกิดภาวะเลือดออกอย่างเรื้อรัง จากกระเพาะอาหารอักเสบหรือแผลในกระเพาะอาหาร และยังพบว่าดื่มเหล้าเป็นเวลานาน มักจะมีการสร้างเม็ดเลือดในไขกระดูกลดลงและมีการเสียเลือดในทางเดินอาหาร

1.1.4                การรับประทานอาหาร เพราะผู้ป่วยอาจขาดสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น การไม่ทานผัก อาจขาดโพลิคได้ การขาดธาตุเหล็ก และวิตามินเป็นต้น
1.1.5                อาการตาเหลือง มีปัสสาวะสีเข้มขึ้น หรือปัสสาวะดำมีสีน้ำปลา มีประวัติโลหิตจางและตาเหลืองในครอบครัว
1.1.6                ประวัติเกี่ยวกับเลือดออกผิดปกติ มีจุดเลือดออกตามตัว จ้ำเลือด และเลือดออกตามไรฟัน ซึ่งพบในรายที่มีความผิดปกติในไขกระดูก เช่นโลหิตจางอะพลาสติก หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว
      1.3 ประวัติโรคประจำตัวอื่นๆ เนื่องจางมีบางโรคที่อาจทำให้มีโลหิตจางร่วมด้วย เช่น โรค     ไต ข้ออักเสษรูมาตอยด์ การติดเชื้อเรื้อรัง   เช่น วัณโรค
     1.4 ประวัติครอบครัว โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมชนิดที่มีเม็ดเลือดแดงและอายุสั้น และมักมีบุคคลในครอบครัวเป็นด้วย เช่น ธาลัสซีเมีย โลหิตจางจากการขาดเอ็นไซม์ G6PD
2.การตรวจร่างกาย
   การตรวจร่างกายในผู้ป่วยที่มีโลหิตจางแบ่งออกเป็น
 2.1การดู จะพบความผิดปกติ ดังนี้
2.1.1 ซีด เห็นได้ชัดที่สุดบริเวณเยื่อบุต่างๆ เช่น เยื่อบุตา และภายใยช่องปาก บริเวณเล็บ
2.1.2 ตาเหลืองตัวเหลือง พบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางจากการทำลายเม็ดเลือด
โรคตับ มะเร็งทางโลหิตวิทยา
2.1.3 ลิ้นเลี่ยน มีแผลที่มุมปาก พบได้ในผู้ป่วยที่ขาดธาตุเหล็ก โพเลต วิตามินบี12
2.1.4 เล็บแบนเป็นรูปช้อน พบได้ในผู้ป่วยที่ขาดธาตุเหล็ก
2.1.5 จุดเลือดออกตามตัว พบในผู้ป่วยโรไขกระดูกฝ่อ และผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งมีเกล็ดเลือดต่ำและจ้ำเลือด
2.1.6 จอประสาทตาบวม พบได้ในผู้ป่วยที่ซีดมากเข้าใจว่าเกิดจากเนื้อเยื้อขาดออกซิเจน
          2.2 การคลำ จะพบความผิดปกติดังนี้
                  2.2.1  ต่อมน้ำเหลือง พบได้ในผู้ป่วยมะเร็งตอมน้ำเหลือง
                  2.2.2 ม้ามโต พบได้ในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่เกิดจากการทำลายของเม็ดเลือด                   แดง มะเร็งเม็ดเลือดขาวต่อมน้ำเหลือง
3.การตรวจทางห้องปฎิบัติการ เพื่อวินิจฉัยภาวะโลหิตจาง ที่ตรวจกันเป็นประจำได้แก่
          3.1 Complete blood count (CBC) ดูค่า Hb, Hct ว่าซีดตามเกณฑ์อายุ1  white cells และplatelets ต่ำหรือสูงกว่าปกติหรือไม่เช่นถ้าเป็นลักษณะ pancytopenia ให้วินิจฉัยแยกโรค aplastic anemia เป็นต้น นอกจากนั้น
การพิจารณา red cell indices เช่น MCV ตามเกณฑ์อายุ1จะช่วยการวินิจฉัยภาวะซีดได้ง่ายขึ้นดังนี้
1) Mean corpuscular volume (MCV) แสดงขนาดเม็ดเลือดแดง โดยทั่วไปค่าปกติระหว่าง 80-100
femto liter (fL)5 MCV ต่ำกว่าค่าปกติพบในกลุ่ม microcytic anemia ให้คิดถึงภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กและโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
2) Mean corpuscular hemoglobin (MCH) เป็นค่าเฉลี่ยปริมาณฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ค่าปกติเท่ากับ 26 pico-gram (pg)
3) Mean corpuscular hemoglobin concentration (MCHC) เป็นค่าเฉลี่ยแสดงความเข้มข้นของ
ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ค่าปกติเท่ากับ 33 gram/deciliter (g/dL) ค่าที่สูง (>35 g/dL) พบใน
spherocytosis และค่าที่ต่ำพบใน iron deficiency anemia
4) Red cell distribution width (RDW) แสดงการกระจายของเม็ดเลือดแดงค่าปกติ (homogeneousdistribution) ค่าจะอยู่ในช่วง11.5 – 14.5 % แต่ถ้า RDW มีค่าสูงการกระจายจะเป็นแบบ
heterogeneous มักใช้แปลผลร่วมกับค่า MCV เช่นใน beta-thalassemia trait มี MCV เล็กและ RDWค่าสูงไม่มาก = 16.3% (13.8-22.2%) ส่วน iron deficiency มี MCV เล็กแต่ RDW จะค่าสูงกว่า 20.6% (16.7-37.2%) เป็นต้น
       3.2. Blood smear สามารถช่วยการวินิจฉัยได้รวดเร็ว เสียค่าใช้จ่ายน้อย ทำได้ง่ายในห้องปฏิบัติการทั่วไปโดยการ
ย้อมสี Wright การติดสีของเม็ดเลือดแดงถ้าตรงกลางมีช่องว่างมากกว่า 1/3 ของขนาดเซลล์เม็ดเลือดแดงเรียกว่า hypochromia ซึ่งพบได้ใน iron deficiency anemia และ thalassemia เป็นต้น นอกจากนี้ประโยชน์ของblood smear สามารถแบ่งชนิดของภาวะซีดได้ตามขนาดเม็ดเลือดแดง หรือความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงที่พบทำให้นึกถึงโรคหรือภาวะต่างๆได้
      3.3. Reticulocyte count ค่าปกติอยู่ระหว่าง 1-2% การเพิ่มขึ้นของ reticulocyte พบใน hemolytic anemia และ
acute hemorrhage ในกรณีที่ผู้ป่วยซีด จะต้องปรับค่า reticulocyte ให้ถูกต้องโดยใช้สูตร
Corrected reticulocyte = Reticulocyte count x (patient’s Hct/normal Hct)
ตัวอย่างเช่น reticulocyte count = 6%, Hct =15%, corrected reticulocyte = 6 x (15/45) = 2%
     3.4. Inclusion bodies พบใน Hb H disease
     3.5. Coombs’ test ส่งตรวจในรายที่อาการคลินิกสงสัย hemolytic anemia เช่น ซีด เหลือง ม้ามโตและ recticulocyte > 2% การแปลผล direct Coombs’ test จะให้ผล positive ในกลุ่ม autoantibody inducinghemolytic anemia เช่น โรค autoimmune hemolytic anemia และ indirect Coombs’ test จะให้ผล positive ในผู้ป่วยที่มี alloimmunization จากการรับเลือด
     3.6. การตรวจไขกระดูก (bone marrow examination) ในรายที่มีข้อบ่งชี้เช่น ตรวจ CBC พบลักษณะ pancytopeniaหรือผู้ป่วยเป็น refractory anemia ได้แก่โรคในกลุ่ม bone marrow failure เช่น aplastic anemia, acute
leukemia หรือโรคที่มีการแพร่กระจายเข้าไขกระดูก เช่น neuroblastoma เป็นต้น
     3.7. การตรวจหาสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ซีด (underlying cause of anemia) เช่นตรวจ BUN, creatinin ในคนไข้ซีดที่สาเหตุจากไตวาย หรือตรวจ thyroid function test ในรายที่สงสัยว่าซีดจาก hypothyroid เป็นต้น
(กิตติ ต่อจรัส , รัชฏะ ลำกูล ,www.dms.moph.go.th, 16/09/2554,22.05 น.)

การรักษาผู้ป่วยโลหิตจาง
  • ไม่รับประทานยาชุด แก้ปวดเมื่อย แก้อักเสบ ยาหม้อ ยาลูกกลอนเอง เนื่องจากมักมียาที่ระคายกระเพาะอาหาร ทำให้มีอาการปวดเสียดท้อง ท้องอืด เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือกระเพาะอาหารทะลุได้
  • รับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะโปรตีนและอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ ไข่ ตับ ไต เนื้อสัตว์ เมล็ดธัญพืช เช่น ถั่ว งา เมล็ดฟักทอง ลูกเดือย เป็นต้น
  • หากมีอาการปวดเสียดแน่นท้อง ขับถ่ายอุจจาระผิดปกติไปจากเดิม ถ่ายดำหรือมีเลือดปน เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาออกเรื้อรัง จ้ำเลือดออกตามตัว ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษา
  • ถ้ามีอาการที่สงสัยว่าเป็นโรคโลหิตจาง ควรไปตรวจยืนยันและแพทย์ต้องตรวจหาสาเหตุเสมอว่าทำไมถึงโลหิตจาง หลังจากนั้นจึงรักษาสาเหตุ แพทย์อาจให้ยาบำรุงเลือดมารับประทาน รับประทานแล้วอาจมีถ่ายอุจจาระดำได้จากสีของยา
        หลักการสำคัญในการรักษาโลหิตจาง คือ รักษาที่สาเหตุของโลหิตจาง แนวทางการรักษาประกอบด้วยการรักษาทั่วไป เป็นการบำบัดอาการของโลหิตจาง ระหว่างที่ทำการรักษาโรคสาเหตุของโลหิตจาง เช่น รักษาภาวะหัวใจวาย ลดการออกแรง ให้ออกซิเจน ให้เลือดทดแทน มักให้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาหลอดเลือด ผู้ป่วยอายุมากหรือเสียเลือดมากเฉียบพลัน ผู้ป่วยเลือดจางเรื้อรังมักไม่จำเป็นต้องให้เลือด แม้ว่าความเข้มข้นของเลือดจะต่ำมากๆ ก็ตามส่วนการรักษาจำเพาะเป็นการรักษาไปที่สาเหตุ กำจัดสาเหตุ (ถ้าทำได้) และให้การรักษาโรคสาเหตุนั้นๆ เช่น ถ้าพบว่าเลือดจางเพราะพยาธิปากขอ ก็ให้ยากำจัดพยาธิและให้ยาที่มีธาตุเหล็กควบคู่กันไป เมื่อระดับความเข้มข้นของเลือดกลับสู่ระดับปกติแล้ว ควรให้ยาเสริมธาตุเหล็กต่อไปอีก 3 เดือนจึงจะเพียงพอ


















สรุป

            โลหิตจางเป็นผลโดยตรงจาก การลดความสามารถในการนำออกซิเจน ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย โดยมีปริมาณเม็ดเลือดแดงน้อยลง จึงลดความข้นหรือความหนืดของเลือด ทำให้แรงต้านในการไหลเวียนเลือดลดลง เลือดจึงไหลกลับสู่หัวใจมากขึ้น( ardiac  output) เพิ่มขึ้นแต่ความสามารถในการขนถ่ายออกซิเจนสู่เนื้อเยื่อลดลง จึงเกิดภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน ( hypoxia ) ร่างกายจึงปรับตัวโดยการขยายหลอกเลือดฝอยส่วนปลาย ทำให้เกิดการบวม จึงทำให้หัวใจต้องทำงานมากขึ้น แม้ว่าเลือดที่ถูกบีบตัวออกจากหัวใจมากขึ้น แต่ในแต่ละหน่วยของเลือดมีปริมาณออกซิเจนน้อย อัตราการไหลเวียนเลือดจึงมากขึ้นเพื่อให้เลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อให้เพียงพอ ร่างกายจึงปรับเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตให้เพียงพอ และลดปริมาณที่ไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ เช่นผิวหนังโดยมีการหดตัวของเส้นเลือดที่มาเลี้ยงผิวหนัง เป็นผลให้เกิดภาวะซีด เมื่อมีการออกแรงมากๆในการปฏิบัติงาน ทำให้กล้ามเนื้อต้องการออกซิเจนมากขึ้น เพิ่มภาระให้หัวใจซึ่งทำงานหนักอยู่แล้ว ทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ เป็นผลให้เกิดอาการใจสั่น หรือภาวะหัวใจวายได้

                                                                   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น