หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555




                   งานวิจัยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง
                                         จัดทำโดย
    นางสาวจีระวรรณ  ประติกานัง รหัส 5305110005
นิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2
                       มหาวิทยาลัยเวสเทริ์น กาญจนบุรี













งานวิจัยเกี่ยวข้องกับเรื่อง โรคหลอดเลือดสมอง
   การค้นคว้างานวิจัย บทความวิชาการ บทความวิจัยที่เกี่ยวข้อง เรื่องโรคหลอดเลือดสมองสามารถสรุปได้ดังนี้
1. งานวิจัยจำนวน 3 เรื่อง
2. บทความวิชาการ….. เรื่อง
3. บทความงานวิจัย 1 จำนวนเรื่อง
1. ประเด็นเรื่องการวิจัยเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2    มีจำนวน เรื่องที่กล่าวมี  
1.1 เรื่องการศึกษาผลการใช้ทางคลินิกของ CEREBRAL ANEURYSM CLIP (http://scholar.google.co.th/schola .สิทธิพร บุณยนิตย์, ..,1 นรินทร์ สิริกุลรัตน์, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2545)
1.2 เรื่องประสิทธิภาพของการใช้แนวทางปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(http://scholar.google.co.th/schola.มรุต พนธารา, ..กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสุโขทัย . 2553
ผู้เขียนสามารถสรุปประเด็นด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากงานวิจัยและบทความได้ดังนี้
วัตถุประสงค์สำคัญสำหรับการผ่าตัดรักษาหลอดเลือดแดงโป่งพองในสมองก็คือ การป้องกันการตกเลือดจากหลอดเลือดแดงที่โป่งพองในสมองแตกซํ้าอีก ก่อนปี พ.. 2493 ศัลยแพทย์ทำ การรักษาหลอดเลือดแดงโป่งพองในสมองด้วยวิธีการผูกมัดอย่างถาวรหรือใช้คีมหนีบโลหแบบดัดได้เพื่อหนีบรัด ต่อมา Schwartzออกแบบคีมหนีบแบบไขว้ขาเพื่อหนีบหลอดเลือดแบบชั่วคราวในปี พ.. 2495 Mayfieldกับ Kees ได้ดัดแปลงคีมหนีบนี้ให้มีขนาดเล็กลงและนำ มาใช้หนีบถาวรหลอดเลือดแดงโป่งพองในสมอง(1) ต่อมาในปี พ.. 2517 McFaddenดัดแปลงให้คีมหนีบเป็นรูปแอลฟาวงแหวนคู่ซึ่งเป็นรูปแบบมาตรฐานที่ประสาทศัลยแพทย์นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน(2) ในช่วง พ.. 2493ถึง 2513 บริษัทผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์โดยทั่วไปนิยมทำ คีมหนีบจากโลหะผสมเหล็กกล้าไร้สนิม(3-5) ปัจจุบันคีมหนีบส่วนมากทำ จากโลหะผสมโคบอลต์ในขณะที่คีมหนีบโลหะผสมไทเทเนยี มเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเนื่องจากเข้ากันได้อย่างดีกับคลื่แม่เหล็กไฟฟ้า magneticresonance imaging แต่ยังคงมีราคาแพงมาก
คีมหนีบสิทธิพรคือคีมหนีบหลอดเลือดคีมหนีบสิทธิพรเป็นคีมหนีบเหล็กกล้าไร้สนิมทางการแพทย์สำ หรับใช้รักษาหลอดเลือดแดงโป่งพองในสมอง ซึ่งผู้วิจัยผลิตขึ้นเองในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้ผ่านการตรวจสอบแล้ว ทางห้องปฏิบัติการ ในสัตว์ทดลองและทางคลินิก พบว่าคีมหนีบสิทธิพรมีคุณสมบัติพื้นฐานถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานทางการแพทย์และสามารถใช้รักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพปราศจากโรคแทรกซ้อน อีกทั้งมีราคาถูก เหมาะสมสำ หรับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจในประเทศไทย

2. ประเด็นเรื่อง การให้ความรู้ต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 
2.1 เรื่องการปรับตัวต่อการเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(http://scholar.google.co.th/schola.วราลักษณ์ ทองใบปราสาท. มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2553  )
         
           เมื่อเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่สูญเสียการความรู้สึกของร่างกายเสียไปเป็นโรคของเวรกรรม และเป็นโรคที่ต้องการผู้ดูแลโดยมีผลกระทบต่อการเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลให้การทำหน้าที่ของร่างกายลดลง มีความผิดปกติ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว การรับประทานอาหารด้านการเคี้ยว การรับความรู้สึก และการรับรู้ มีการสูญเสียภาพลักษณ์ เป็นความรู้สึกเกี่ยวข้องกับ ความเชื่อและความรู้สึกนึกคิดที่บุคคลมีต่อสภาพร่างกาย เช่นขนาด รูปร่าง ท่าทาง ของตนเองที่เปลี่ยนแปลงไป การทำหน้าที่ในครอบครัวลดลงเพราะก่อนป่วย สามารถประกอบอาชีพหารายได้มาจุนเจือครอบครัวได้ เมื่อเจ็บป่วยไม่สามารถประกอบอาชีพได้ดังเดิมจึงประสบปัญหาตามมา และมีความต้องการพึ่งพาระหว่างกัน การเจ็บป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย มีความพิการหลงเหลืออยู่ ผู้ป่วยจึงต้องการการพึ่งพาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง และการพึ่งพาระหว่างกันนี้ผู้ป่วยเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ ส่วนวิธีการปรับตัวต่อกาเจ็บป่วของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คือ วิธีการปรับพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสภาพร่างกาย ในการทำหน้าที่ของร่างกาย เป็นการเรียนรู้ การฝึกช่วยเหลือตนเองในการ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และการฟื้นฟู การดำรงชีวิตอย่างประหยัดเพื่อลดภาระให้ครอบครัว เป็นการปรับตัวด้านภาระหน้าที่การแสดงบทบาทหน้าที่ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ตามบริบทของสิ่งแวดล้อม และพยายามช่วยตนเอง เพื่อลดการพึ่งพาคนในครอบครัว เป็นการปรับตัวด้าน การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การร้องขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ทำเองไม่ได้ และผู้ดูแล หรือญาติสามารถตอบสนองได้ทั้งนี้มีผลการปรับตัวต่อการเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คือยอมรับสภาพการเจ็บป่วยได้มีการ ปรับตัวเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันส่วนใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ยอมรับสภาพการเจ็บป่วย ในการปรับตัว ด้านภาพลักษณ์
เป็นการปรับตัวไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่สามารถทำใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกาย 4) ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการปรับตัวต่อการเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยที่ส่งเสริมในการปรับตัว คือการดูแลเอาใจใส่ ความรักความเอื้ออาทรจาก ครอบครัว ญาติและผู้ดูแล ความหวังของผู้ป่วย ที่ทำให้มีความสามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้ และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการปรับตัหมายถึงประสบการณ์ในด้านลบเกี่ยวกับโรค ที่มีความรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำใจยอมรับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป รู้สึกว่าตนเองไม่สามารถทำกิจกรรมได้เหมือนเดิม ทั้งนี้สามารถสรุปประสบการณ์การปรับตัวต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง