หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

โรคมะเร็งปากมดลูก


คำนำ
                มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากในผู้หญิงไทย  โดยเฉลี่ยแล้วมีผู้หญิงไทยตายจากมะเร็งปากมดลูกวันละ  7  คน  โรคนี้เป็นภัยเงียบและผู้หญิงมีความเสี่ยง  แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่มักคิดว่าตัวเองไม่มีโอกาสเป็น  เนื่องจากครอบครัวไม่มีใครเคยเป็น  อีกทั้งตัวเองก้อเป็นคนที่รักเดียวใจเดียว  ไม่มีคู่นอนหลายคน  จึงไม่สนใจจะหาทางป้องกัน
                ในความเป็นจริงมะเร็งปากมดลูกไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์  แต่เกิดจากเชื้อเอชพีวี  ซึงสามารถติดต่อได้ง่ายและพบบ่อยที่สุดของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์  โดยจากสถิติพบว่า  50 – 80%  ของผู้หญิงมีโอกาสติดเชื้อเอชพีวีในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต  แต่เมื่อติดเชื้อแล้ว  มากกว่า  90%  จะหายเองได้  มีส่วนหนึ่งที่เป็นเรื้อรังและก่อให้เกิดปัญหา
                เชื้อเอชพีวีมีมากกว่า  100  สายพันธุ์  โดยทั่วไปเรามีการจัดเชื้อเอชพีวีเป็น  2  กลุ่ม  ได้แก่  เชื้อเอชพีวีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง  มีทั้งหมด  15  สายพันธุ์  สายพันธุ์ที่พบบ่อยคือสายพันธุ์  16 , 18 , 45 , 31 , 33  โดยพบว่าสายพันธุ์  16  และ  18  เป็นสาเหตุประมาณ  70%  ของมะเร็งปากมดลูก  สายพันธุ์  45 , 31 , 33  พบเป็นอันดับรองลงมาตามลำดับ  และเป็นสาเหตุอีกประมาณ  10%  ของมะเร็งปากมดลูก  ดังนั้นหากเราสามารถป้องกันเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์เหล่านี้ได้  ก็จะสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ประมาณ  80%  เชื้อเอชพีวีกลุ่มหนึ่ง  คือ  สายพันธุ์ที่ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง  ได้แก่สายพันธุ์  6 , 11 , 40 , 42 , 43  เชื้อเอชพีวีกลุ่มนี้เป็นสาเหตุของหูดอวัยวะเพศ  ไม่ก่อให้เกิดมะเร็งแต่อย่างใด  และหากเป็นก็สามารถรักษาให้หายได้






สารบัญ
เรื่อง                                                                                                                                                            หน้า
บทนำ
โรคมะเร็ง                                                                                                                                                        1
โรคมะเร็งปากมดลูก                                                                                                                                        2
สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งปากมลูก                                                                                                                   3          
-                   สาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก 
-                   ปัจจัยเสี่ยงอื่น 
อาการของโรงมะเร็งปากมดลูก                                                                                                                4  -  5
-                   พยาธิสรีรวิยา  (Pathophysiology)
-                   อาการแสดง  (Clinical  Manifestations)
ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งปากมดลูก                                                                                                                6 
-                   ปัจจัยเสี่ยง
-                   ปัจจัยเสี่ยงจากฝ่ายชาย
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก                                                                                                                 7  -  8
-                   วัคซีนโรคมะเร็งปากมดลูก
-                   เมื่อไรจึงจะฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
-                   จะต้องฉีดกี่เข็ม
การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก                                                                                                               9  -  10
-                   การรักษา(Medical  Management)
-                   การพยาบาล(Nursing  Management  of  the  Medical  Client)
-                   การผ่าตัด(Surgical  Management)
-                   การพยาบาล(Nursing  Management  of  the  Surgical  Client)
ผู้หญิงควรจะตรวจหาโรคมะเร็งปากมดลูกเมื่อใด                                                                               11  -  13
-                   ผู้หญิงควรจะตรวจภายในเมื่อใด
-                   ผู้หญิงควรจะตรวจภายในเมื่อไร ตรวจแล้วจะบอกอะไรได้บ้าง เวลาตรวจควรเตรียมตัวมาอย่างไร
-                   ในการตรวจภายในสิ่งที่ต้องคำนึงด้วยเสมอเพื่อมิให้วินิจฉัยโรคผิดพลาด
-                   เรื่องควรรู้เพื่อเตรียมตัวรับการการตรวจภายใน   














บทนำ
ในปัจจุบันนี้หญิงไทยของเรามีโอกาสี่จะเกิดโรคต่างๆได้มากมาย  และอีกโรคหนึ่งที่หญิงไทยควรจะใส่ใจและไม่ควรที่จะมองข้ามมันนั่นคือโรคมะเร็งปากมดลูก  โรคนี้เป็นภัยเงียบและผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยง  แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่มักคิดว่าตัวเองไม่มีโอกาสเป็น  เนื่องจากครอบครัวไม่เคยมีใครเป็น  อีกทั้งตัวเองก็เป็นคนรักเดียวใจเดียว  ไม่ได้มีคู่นอนหลายคน  จึงไม่สนใจที่จะหาทางป้องกัน 
สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข  กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานสาเหตุการตายในประเทศไทย                  ปี  พ.ศ.2541  พบว่ามีสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งทั้งหญิงและชายเกิดจากมะเร็งตับมากที่สุดในอัตรารวม  36.6  รายต่อแสนคน  ชายมากกว่าหญิง  1.8  เท่า  สำหรับเพศชายเสียชีวิตจากมะเร็งปอดและหลอดลมเป็นอันดับสอง  18.0  รายต่อแสนคน  ชายมากกว่าหญิง  3.2  เท่า  ส่วนในเพศหญิงมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์เป็นวาเหตุการณ์ตายมากเป็นอันดับสอง  คือ  13.8  รายต่อแสนคน  สูงกว่าในอวัยวะสืบพันธุ์เพศชายถึง      6.5  เท่า  และอันดับสามเป็นมะเร็งปอด  และหลอดลม  8.5  ต่อแสนคน  (นายประเสริฐ  อัสสันตชัย,2548)
หญิงไทยมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งมากขึ้นเรื่อยๆ  แต่หญิงไทยเราไม่ใส่ใจเกี่ยวกับโรคนี้เลย  จึงทำให้เกิดโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ  โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่สามารถรักษาหายถ้าเรารู้จักป้องกัน  และรู้จักใส่ใจตัวเองมากยิ่งขึ้น









โรคมะเร็ง (Cancer)
                มะเร็งเป็นสาเหตุของการตายอันดับที่สองรองจากโรคหัวใจ  ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นตามวัยที่เพิ่มขึ้นตามอายุขัย  ผลกระทบจากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งมีมากมายกล่าวคือ  ผลกระทบทางด้านจิตใจทำให้มีความวิตกกังวลจนกระทั่งซึงเศร้า  เพราะโรคมะเร็งถือเป็นเหตุการณ์ที่คุกคามชีวิต  นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความทุกข์  ความวิตกกังวลต่อครอบครัว  ได้แก่  การำเนินชีวิตตามปกติ  ค่าใช้จ่ายของครอบครัว  ทำให้มีความสูญเสียรายได้  และต้องจ่ายเพิ่มขึ้นไปกับการดูแลรักษาพยาบาล  ส่วนผลกระทบทางด้านร่างกายที่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานแสนสาหัสคือ  ความปวด  และทำให้ร่างกายอ่อนแอลง
                โรคมะเร็งนับว่ามีความสำคัญและเป็นปัญหาสาธารณสุขในเกือบทุกประเทศ  เนื่องจากเป็นสาเหตุการตายที่อยู่ใน  10  อันดับแรก สำหรับประเทศไทยเป็นสาเหตุการตายอันดับที่  3  รองจากอุบัติเหตุและโรคหัวใจ  โดยมีอัตราการตาย  27   ต่อประชากรแสนคนในปี  2525-2529  (กองสิติสาธารณสุข,2531)  นอกจากนั้นการรักษาในผู้ป่วยบางคนซับซ้อนและต้องใช้เวลานานกว่าโรคอื่นๆ  ร่วมกับคนส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องและมีเจตคติที่ไม่ดีต่อโรคนี้  เช่น  เชื่อว่าการเป็นโรคมะเร็ง  หมายถึงความเจ็บปวด  ความสูญเสีย  ความพิการความน่ารังเกียจ  ความว้าเหว่  ความพลัดพราก  และเป็นภาระต่อผู้อื่น  ดังนั้นโรคมะเร็งจึงก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและศักยภาพของชีวิตได้สูงมาก
               







โรคมะเร็งปากมดลูก
                ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบโรคมะเร็งปากมดลูกประมาณร้อยละ  17  ของโรคมะเร็งในนรีเวชกรรมและเป็นอันดับ  9  ของมะเร็งที่พบในผู้หญิง (Gauthier  and  Carcio,2000:1119) อัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูกทุกอายุ  4  คนต่อแสนคนสตรีอเริกันทุกคนมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกร้อยละ  0.7  อัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกชนิดอินไซตู  (carcinoma  in  situ)  มากกว่าชนิดลุกลามถึง  3  เท่า  พบโรคมะเร็งปากมดลูกชนิดอินไซตู  ในกลุ่มอายุ  25-29  ปี  อัตราการเกิดโรคสูงสุดในกลุ่มอายุ  30-45  ปีประมาณ  6  คนต่อพันคนและอายุมากกว่า  60  ปีประมาณ  5  คนต่อพันคน  อัตราความชุกของโรคมะเร็งปากมดลูกชนิดลุกลามจะสูงสุดในกลุ่มคนอายุโดยเฉพาะกลุ่มคนอายุมากกว่า  50  ปี  (Brown,2000:86,88)  ในปี  พ.ศ.  2544  ประเทศไทยมีอัตราการตายจกโรคมะเร็งปากมดลูก  3.5  คนต่อประชากรหญิงแสนคน  ซึ่งสูงกว่าปี  พ.ศ.  2543  ซึ่งมีอัตราการตาย  2.8  คนต่อประชากรหญิงแสนคน  และเป็นอัตราการตายที่สูงเป็นอันดับที่  4  ของผู้หญิงที่เป็นมะเร็ง











สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก
                สาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก  ที่แท้จริงยังไม่อาจสรุปได้ชัดเจน  แต่มะเร็งปากมดลูกมีความเกี่ยวพันอย่างมากกับ  Human  papilloma  viaur  (HPV)  ทั้งนี้เพราะตรวจพบดีเอ็นเอ  (DNA)  ของไวรัสนี้โดยเฉพาะชนิดที่มีรูปแบบพันธุกรรม  (genotype)  16  18  31  และ  33  ในเนื้อเยื่อบุปากมดลูกของสตรีที่เป็นมะเร็งปากมดลูก  (Gauthier  and  Carcio,  2000:1120)  ไวรัสชนิดนี้จะทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ  (venereal  warts) โดยเฉพาะชนิด16  และ  18  (Brown,  2000:86)    นอกจากนี้ยังพบว่าคนที่มีไวรัสฮิวแมนแพบพิลโลมาจะเป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่าคนทั่วไป 15 เท่า  ปัจจัยที่ทำหัยเกิดไวรัสฮิวแมนแพบโลมา  คือ  เริ่มมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อยหรือก่อนอายุ  20  ปี  มีคู่หลายคน  มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยาง  ติดเชื้อเอชไอวีโดยเฉพาะผู้มีซีดี  4  (CD-4)ต่ำ  สูบบุหรี่  และรับระทานอาหารโดยไม่ถูกหลักโภชนาการ  (Gauthier  and  Carcio,2000:1120)
                ปัจจัยเสี่ยงอื่น  คือ  การตั้งครรภ์บ่อยหรือมีบุตรมาก  (Georges,2000:772)  ตั้งครรภ์แรกเมื่ออายุน้อย  มีประการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์  เช่น  Herpes  virus  hominis,  Trichomonas,  syphillis  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่มีแนวโน้มจะเป็นปัจจัยเสี่ยง  คือ  ใช้แป้งที่มีแร่  (Talc)  สูบบุหรี่  รัปประทานยาคุมกำเนิด  ขาดวิตามินเอและซี  การเผาผลาญกรดโฟลิกผิดปกติ  โรคเบาหวาน  ภาวะที่ไม่เคยคลอด  (nulliparity)  สวนล้างช่องคลอดบ่อย  (Phipps,  Sands  and  Marek,1999:1546)  ได้รับไดเอธิลสติลเบสตอลตั้งแต่ในครรภ์  (diethylstilbestrol  in  utero)  ได้รับยากดภูมิคุ้มกันหรือภูมิคุ้มกันต่ำ  และไม่เคยตรวจคัดกรอง  (screening) (Brown,2000:88) 







อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก 
                พยาธิสรีรวิยา  (Pathophysiology)
                                พบมีการเกิดของเซลล์ที่ผิดปกติไปจากเซลล์แม่ที่เรียกว่า  dysplasia  ในระยะนี้เซลล์มีการเปลี่ยนรูปร่าง  ซึ่งแบ่งออกได้เป็นหลายระยะ  ได้แก่
                -  Mild  dysplasia  หรือ  CIN  1
                -  Moderate  dysplasia  หรือ  CIN  2
                -  Severe  dysplasia  หรือ  CIN  3
                -  Carcinoma  in  situ  (CIS)
                                สตรีที่ดีรับการวินิจฉัยเป็น  Carcinoma  in  situ  91%  พบว่าไม่มีการกระจายของเซลล์และสามารถรักษาให้หายได้แต่อาจพบการกลับมาเป็นซ้ำในระยะก่อนลุกลามละระยะลุกลามของเซลล์มะเร็งในระหว่างช่วง  5-10  ปี  เซลล์มะเร็งที่ปากมดลูกส่วนใหญ่เป็นชนิด  squamous  cells  ที่มักเรียกว่า  Squamous  cells  carcinoma  มักจะพบเซลล์มะเร็งในบริเวณที่เรียกว่า  squamocolummnar  junction  ซึ่งเป็นบริเวณไกล้กับปากมดลูกรอบนอก  การแพร่กระจายของเซลล์นี้เกิดขึ้นได้ที่เยื่อบุของช่องคลอดมดลูกส่วนล่าง  ผนังหน้าท้อง  ผนังเชิงกราน  กระเพาะปัสสาวะและลำไส้  เซลล์มะเร็งสามารถแพร่กระจายผ่านทางระบบน้ำเหลืองผ่านเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตไปยังตับ  ปอด  และกระดูกได้
                อาการแสดง  (Clinical  Manifestations)
                                มะเร็งปากมดลูกระยะแรกๆ  ส่วนใหญ่ไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ถึงแม้จะตรวจ  pap  smear  ให้ผลผิดปกติก็ตาม  อาจมีความจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีตรวจชนิดอื่นร่วมด้วย  เช่น  HPV  deoxyribonucleic  acid  (DNA)  เพื่อใช้ในการตรวจเซลล์มะเร็งซ้ำ มักทำการตรวจซ้ำหลังตรวจ  pap smear  แล้วการตรวจอื่นๆ  เช่น  swab  ทำได้เช่นกันเพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็งที่ผิดปกติ  ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายมักตรวจพบอาการดังนี้  เช่น  มีสารคัดหลั่งหรือเลือดที่ออกทางช่องคลอดโดยเฉพาะภายหลังการร่วมเพศการเกิด  Metrorrhagia , postmenopausal  bleeding , และ  polymenorrhea  (increasing  frequency  of  menstrual  bleeding)  อาจพบได้เช่นกัน  การมีเลือดออกในระยะแรกอาจพบเป็นจุดเลือดออก  (spotting)  หรือเป็นเลือดออกจากการสัมผัส  (contact  bleeding  trauma  secondary  to  sexual  intercourse)  ในระหว่างมีเพศสัมพันธ์หรือในระยะสวนล้างช่องคลอด  (douching)  จำนวนเลือดที่ออกรวมทั้งระยะเวลาสามารถเป็นตัวบ่งบอกถึงการลุกลามของโรค  สารคัดหลั่งที่ออกทางช่องคลอดมักเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็น  การมีเลือดออกตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งไม่นาพึงประสงค์  นอกจากนี้ยังอาจพบอาการ
1.              ความดันเพิ่มขึ้นในช่องท้องและกระเพาะปัสสาวะ
2.             มีการระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะ
3.             มีสารคัดหลั่งออกทางทวารหนัก
4.             มีอาการที่เกิดจากการอุดกั้นภายในมดลูก
5.             มีอาการปวดถ่วงในช่องท้องอย่างรุนแรง













ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก
ปัจจัยเสี่ยง  หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงใดใดที่เกิดขึ้นแล้วทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น มะเร็งแต่ละชนิดจะมีปัจจัยเสี่ยงต่างกัน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลุกได้แก่
  • การติดเชื้อ HPV รือการเป็นหูดที่อวัยวะเพศ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิด             มะเร็งปากมดลูก
  • การสูบบุหรี่ ของการเกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นสองเท่า
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด
  • ระบบภูมิคุ้มกันของคุณสุภาพสตรี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีจะทำให้เกิดโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ง่ายจึงมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลุกเพิ่มขึ้น
  • การติดเชื้อ Chlamydia พบว่าผู้ที่ติดเชื้อ Chlamydia ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น
  • อาหาร ผู้หญิงที่รับประทานผักและผลไม้น้อยจะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงกว่าคนที่รับประทานผักและผลไม้
  • ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดมาเป็นระยะเวลานานจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก
  • การมีบุตรหลายคนเชื่อว่าจะทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนทำให้ติดเชื้อ HPV ง่าย และขาดการป้องกันการติดเชื้อ
  • ผู้ที่มีฐานะต่ำเนื่องจากเข้าถึงบริการไม่ทั่วถึง 
ปัจจัยเสี่ยงจากฝ่ายชาย                                                                                                                                        ที่อาจทำให้ผู้หญิงเป็น มะเร็งปากมดลูก                                                                                                              - ผู้ชายที่มีประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์                                                                                                    - ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย                                                                                                                - ผู้หญิงที่มีสามีเป็นมะเร็งองคชาติ
- ผู้หญิงที่มีสามีเคยมีภรรยาเป็น มะเร็งปากมดลูก                                                                                                  - ผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน



วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่เกิดบ่อยที่สุดของคุณสุภาพสตรี และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกจะได้ผลดีเมื่อสามารถค้นหาโรคได้ในระยะเริ่มแรกโดยการตรวจภายใน มักจะรักษาโดยการผ่าตัด หรือการให้รังสีรักษา แต่หากพบโรคในระยะท้ายของโรคก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ดังนั้นการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกน่าจะเป็นวิธีที่ดี
วัคซีนโรค มะเร็งปากมดลูก
หลายๆ คนคงเคยได้ยินเรื่องการรณรงค์ฉีดวัคซีนโรค มะเร็งปากมดลูก ความจริงแล้ว ระดับการป้องกันโรค มะเร็งปากมดลูก มีหลายระดับ โดยระดับแรกของการป้องกันคือ การฉีดวัคซีน ที่เชื่อว่าลดความเสี่ยงได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ การป้องกันขั้นพื้นฐานด้วยการตรวจแพปสเมียร์เป็นประจำก็เป็นเรื่องสำคัญ
             ทั้งนี้ ตามคำแนะนำของคณะกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแห่งสหรัฐอเมริกา เด็กและหญิงสาวที่อายุต่ำกว่า 26 ปี ซึ่งไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน สามารถรับการฉีดวัคซีนชนิดนี้ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อเอชพีวี ส่วนหญิงสาวที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว ควรตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก หรือแพปสเมียร์เสียก่อน เพราะเป็นไปได้ว่าอาจพบการติดเชื้อ หรือมีความผิดปกติ ซึ่งจะต้องทำการรักษาให้หายเสียก่อน จึงจะรับการฉีดวัคซีนได้ในเวลาต่อมา ส่วนวัยที่ควรเริ่มฉีดวัคซีนชนิดนี้คือ 9 ปีขึ้นไป และการใช้วัคซีนในผู้หญิงวัย 9 – 26 ปี จะป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  
           อย่าลืมหมั่นตรวจเช็คสุขภาพ และความผิดปกติของร่างกาย ที่สำคัญอย่ากลัวหรืออายที่จะไปตรวจหาเชื้อ มะเร็งปากมดลูก เพราะหากช้าไป โรคร้ายอาจทำลายคุณ
เมื่อไรจึงจะฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
มีคำแนะนำจากองค์การอาหารและยาของอเมริกาแนะนำว่าให้เริ่มฉีดเมื่ออายุประมาณ 11-12 ปี แต่อาจจะฉีดเมื่ออายุ 9 ปีก็ได้ เนื่องจากเด็กในช่วงอายุดังกล่าวยังไม่มีการติดเชื้อ HPV และช่วงดังกล่าวเด็กจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างเต็มที่
นอกจากนั้นยังแนะนำว่าว่าผู้ที่อายุตั้งแต่ 13-26 ที่ไม่เคยฉีดวัคซีน หรือฉีดไม่ครบควรจะได้รับการฉีดวัคซีนทุกคน

จะต้องฉีดกี่เข็ม
ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ฉีดสามเข็มคือ เข็มที่สองและสามห่างจากเข็มแรกสองและสี่เดือนตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิได้เต็มที่เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV
  • ครั้งที่1ให้ฉีดตามที่กำหนด
  • ครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก 1-2 เดือน
  • ครั้งที่ 3 ห่างจากเข็มแรกประมาณ 6 เดือน















การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก
                การรักษา(Medical  Management)
                                การฉายรังสีมีความจำเป็นสำหรับมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกๆ  เนื่องจากก่อให้เกิดผลในการรักษาที่ดี  แต่ก้อทำให้เป็นสาเหตุของการหมดประจำเดือนได้  ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่พบในระยะตั้งครรภ์  อาจมีการรักษาได้หลายวิธีขึ้นกับระยะของมะเร็ง  ระยะของการตั้งครรภ์ และความต้องการมีบุตรของผู้ป่วย  ผู้ป่วยอาจยังคงตั้งครรภ์ต่อไปได้หากพบเป็นมะเร็งระยะแรกๆ  (CIN)  หรือ  carcinoma  in  situ  โดยแพทย์มักให้การรักษาโดยวิธีทำ  cold  conization  หรือ  LEEP  ในระยะ 2-3  เดือนหลังคลอดบุตร  หากพบผู้ป่วยตั้งครรภ์เป็นมะเร็งในระยะลุกลาม  แพทย์มักใช้วิธีทำแท้ง  หากพบมีการตั้งครรภ์ไม่ถึง  24  สัปดาห์  ถ้าตั้งครรภ์เกินกว่านี้อาจชะลอการรักษาไว้จนถึงอายุครรภ์  28-32  สัปดาห์  หลังจากนั้นจึงทำการผ่าตัดคลอด  ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาโดยการตัดมดลูกร่วมกับการฉายรังสีในระยะหลังคลอด
                การพยาบาล(Nursing  Management  of  the  Medical  Client)
                                เน้นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการฉายรังสี  การป้องกันอื่นๆ  เช่น การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการกลับมาเป็นซ้ำ  โดยการตรวจสุขภาพเป็นประจำ  การตรวจภายในอุ้งเชิงกรานและการทำ  pap  smear  ควรทำทุก  3  เดือน  ในระยะ  2  ปีแรก
                การผ่าตัด(Surgical  Management)
                                แพทย์อาจให้การรักษา  เช่น
1.              Cryosurgery  เป็นวิธีนำความเย็นเฉพาะที่มาเพื่อกำจัดเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ผิดปกติโดยใช้แก๊ส  เช่น  Nitrous  oxide  หรือ  Carbon  dioxide  ความเย็นดังกล่าวจะทำให้เซลล์ตายเนื่องจากถูกทำลายและแห้งไป  เซลล์จะหลุดออกมาเป็นสารคัดหลั่งภายใน  2-3  สัปดาห์
2.             Conization  คือการตัดเซลล์ออกเป็นรูปกรวย
3.             Laser  Therapy of  LEEP  เป็นการทำลายเซลล์ที่ผิดปกติโดยใช้แสงเลเซอร์ทำให้เกิดการไหม้ของเนื้อเยื่อและหลุดออกมาภายใน  2-3  สัปดาห์ต่อมา
การผ่าตัดมดลูกออกทางช่องท้อง(Total  Abdominal  Hysterectomy)  สามารถใช้รักษามะเร็งในระยะเริ่มต้นได้ผลดี  การรักษาชนิด  pelvic  exenteration  คือ  การรักษาที่ครอบคลุมกว่าใช้ในกรณีที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปแล้ว  วิธีทำโดยการผ่าตัดเอาอวัยวะต่างๆ  ในอุ้งเชิงกรานออก  เช่น มดลูก  ท่อนำไข่  รังไข่  ช่องคลอด  กระเพาะปัสสาวะ  ทวารหนัก  ลำไส้ใหญ่
การพยาบาล(Nursing  Management  of  the  Surgical  Client)
                พยาบาลควรให้คำอธิบายขั้นตอนในการรักษา  เช่น  cryosurgery , laser  therapy , LEEP  รวมทั้งให้คำแนะนำในการตัดสินใจเพื่อการผ่าตัด  การใส่เครื่องมือตรวจภายใน  รวมทั้งคำอธิบายถึงอาการที่เกิดขึ้น  เช่น  เวียนศรีษะ  หรือเกร็ง  หรือเวียนในขณะตรวจอาจเกิดขึ้นได้  พยาบาลควรให้กำลังใจโดยใช้วิธี
1.             อยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วย
2.             บอกขั้นตอนในขณะทำการรักษา
3.             พูดคุยและรับฟังความรู้สึกของผู้ป่วย
4.             ยอมรับสภาพของผู้ป่วย
5.             อนุญาตให้ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจเพื่อการรักษา
การประเมินความไม่สุขสบายระหว่างขั้นตอนต่างๆ  มีความจำเป็นอย่างยิ่ง  อาจให้ยาระงับปวดชนิดอ่อนได้  รวมทั้งฝึกให้มีการหายใจเข้า-ออก  ช้าๆลึกๆ  รวมทั้งสังเกตอาการที่ไม่พึงประสงค์อื่นๆ  เช่น  อาการเกร็งที่อาจเกิดขึ้นได้ภายหลังการรักษา  การให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ก็เป็นสิ่งจำเป็น  เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้  ผู้ป่วยควรอาบน้ำจากผักบัวแทนการนั่งอาบในอ่างน้ำ  เนื่องจากแผลจะหายภายในระยะ  6  สัปดาห์






ผู้หญิงควรจะเริ่มตรวจหามะเร็งปากมดลูกเมื่อใด
ผู้หญิงควรจะตรวจภายในเมื่อไหร่
ตรวจภายใน” ประโยคสั้นๆ นี้ที่ทำให้ผู้หญิงรู้สึกไม่สบายใจไปตามๆ กันหากต้องรับการตรวจ ไม่ว่าจะเป็นหญิงมีบุตรแล้วหรือหญิงที่ยังไม่แต่งงานก็ตาม อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าการตรวจภายในเป็นการตรวจทางการแพทย์ที่ผู้หญิงทุก คนจำเป็นต้องตรวจตามความเหมาะสม
ผู้หญิงควรจะตรวจภายในเมื่อไร ตรวจแล้วจะบอกอะไรได้บ้าง เวลาตรวจควรเตรียมตัวมาอย่างไร
           การตรวจภายในทำได้ทุกอายุของผู้หญิงเลย ถ้าเกิดมีตกขาวผิดปกติ มีเลือดออก ช่องคลอดมีกลิ่น ปวดท้องน้อย สงสัยมีก้อนหรือมีน้ำในท้อง ในเด็กวัยอนุบาลประถม ก็ตรวจได้ถ้ามีอาการผิดปกติดังกล่าว จะมีเครื่องมืออันเล็กเหมือนที่ตรวจรูจมูก บางครั้งสูตินรีแพทย์ใช้นิ้วก้อยตรวจได้ หรือตรวจทางทวารหนักแทน                                                                    เด็กผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์เร็วตั้งแต่วัยรุ่นก็สามารถตรวจได้ เพื่อรักษาโรคทางเพศสัมพันธ์ ตกขาว เลือดออกผิดปกติ ปวดท้องน้อย หรือเกิดโชคร้ายท้องนอกมดลูก เป็นถุงน้ำที่รังไข่ ก็สามารถตรวจภายในวินิจฉัยได้                            ส่วนผู้หญิงโสด ถ้าประจำเดือนปกติ ตรวจสุขภาพทั่วไปและอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกปกติ จะเริ่มตรวจภายในเช็คมะเร็งปากมดลูกตอนอายุ 30 ปีขึ้นไปก็ได้
ในการตรวจภายในสิ่งที่ต้องคำนึงด้วยเสมอเพื่อมิให้วินิจฉัยโรคผิดพลาด คือ
           เรื่องประจำเดือนซึ่งต้องเน้นรายละเอียดและความแม่นยำที่ถูกต้อง ในบางครั้งคำนำหน้าชื่อของผู้หญิงที่ยังเป็นนางสาว มิได้ยืนยันการไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ถ้าเชื่อตามคำนำหน้าชื่ออาจทำให้วินิจฉัยโรคผิดพลาดได้ การสอบถามประวัติของแพทย์และการให้ข้อมูลที่เป็นจริงของผู้ได้รับการตรวจ เป็นเรื่องสำคัญมาก ที่เคยเจอมาแล้วก็คือ สูตินรีแพทย์บางคนเกรงใจไม่กล้าถามมาก ปรากฏว่าได้ผ่าตัดสิ่งที่คิดว่าเป็นเนื้องอกในมดลูกที่มีขนาดเท่าอายุครรภ์ 4 เดือนออกไป หลังจากตรวจชิ้นเนื้อกลับพบว่าเป็นเด็กทารก เป็นที่น่าเสียใจว่าเธอถูกตัดมดลูกออกไป โดยที่ไม่มีโอกาสมีบุตรอีก เพราะพยายามปิดบังข้อมูลกับแพทย์ และแพทย์ท่านนั้นก็ไม่นึกว่าเธอจะมีเพศสัมพันธ์จนมีบุตร เพราะลักษณะภายนอกเธอเป็นผู้ดีและเรียบร้อยเหมือนผ้าพับไว้ เพราะฉะนั้นการซักประวัติส่วนตัวอย่างละเอียดเกี่ยวกับ เรื่องเพศสัมพันธ์ การใช้ยาคุม จำนวนบุตร การแท้งธรรมชาติ หรือการทำแท้งจะมีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรคมาก ขอให้เข้าใจว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่แพทย์จำเป็นต้องถามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

           เด็กผู้หญิงบางคนจะใจแข็งมาก บางครั้งอยู่ที่หอพักเดียวกัน พากันมาส่งเพราะมีอาการปวดท้องน้อยรุนแรง ท้องป่อง แพทย์ห้องฉุกเฉินนึกว่าปัสสาวะไม่ออกเลยปวด กำลังจะสวนปัสสาวะให้ ปรากฏว่าเบ่งแป็บเดียวเด็กออกมาเลย ก็เคยพบกันบ่อยๆ

           นอกจากนี้ยังมีบางคนที่มารดาพามาตรวจ นึกว่าเป็นโรคท้องป่องท้องมาร นึกว่าใครเสกอะไรเข้าท้อง พอหมอตรวจท้อง ฟังแล้วพบว่ามีเสียงหัวใจอีกดวง ก็ยังไม่ยอมรับ ผู้หญิงเรามักจะใจแข็งจริงๆ แต่พอเอกซเรย์ดูจึงเห็นกระดูกศีรษะ ซี่โครง แขนขา มารดาเข่าอ่อนไปเลยก็มี ส่วนใหญ่มารดาของเด็กสาวมักจะห้ามบอกบิดา เพราะบิดาจะอารมณ์รุนแรงรับไม่ได้ ทั้งที่พ่อแม่ควรให้อภัยแก่ลูกสาว บางเรื่องพลาดแล้วย้อนกลับคืนไม่ได้ แต่โอกาสทำความดีต่อไปของคนเรายังมี อย่าไปด่าว่าหรือทุบตีรุนแรงเลย

           ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ในบางครั้งระยะที่ขาดประจำเดือนกับขนาดท้องไม่สัมพันธ์กัน เป็นสิ่งที่ต้องเอาใจใส่เสมอ ต้องติดตามดูอาการและได้รับการตรวจครรภ์ตามแพทย์ และใส่ใจประเมินครบกำหนดคลอด

           บางคนมีลูกมา 2 – 3 คนแล้ว ท้องลาย ก้นลาย แต่มาบอกหมอสูติว่าท้องแรก เอ้า ท้องแรกก็ท้องแรก แต่เวลาคุณเธอคลอดเราต้องระวัง เพราะท้องแรกจะคลอดช้า ท้องสองและสามจะไวมาก หมอสูติต้องเตรียมพร้อม

           เรื่องอาการทางกระเพาะปัสสาวะ มักเกี่ยวข้องกับช่องคลอดและมดลูกเสมอในเรื่องการรักษา เช่น ถ้ากระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อยๆ รักษาไม่หาย ควรนึกถึงการอักเสบเรื้อรังในช่องคลอดด้วย บางครั้งปัสสาวะไม่ออก เพราะมดลูกจากผู้หญิงที่เบ่งลูกหลายคน เอ็นที่ยึดมดลูกจะไม่ตึง ทำให้มดลูกหย่อนมาจุกตรงช่องคลอด กดช่องปัสสาวะทำให้ปัสสาวะไม่ออก

เรื่องควรรู้เพื่อเตรียมตัวรับการการตรวจภายใน  
           การตรวจภายในได้ทุกเวลา ยกเว้นช่วงที่มีประจำเดือน แต่ถ้ามีเลือดออกผิดปกติไม่ใช่ประจำเดือน ก็ตรวจได้เลยจะได้ดูจุดที่เลือดออก สีของเลือด ปริมาณมากน้อยแค่ไหน วินิจฉัยได้แม่นยำไม่ต้องรอเลือดหยุด ซึ่งควรเตรียมตัวก่อนรับการตรวจภายในดังนี้

             ควรปัสสาวะทิ้งให้หมดก่อน เพื่อที่แพทย์จะได้คลำขนาดมดลูกและปีกมดลูกให้ชัดเจน
            ถ้ามีปัญหาเรื่องกระเพาะ ปัสสาวะ สูตินรีแพทย์อาจสวนตรวจเพาะเชื้อโรคและให้ยาปฏิชีวนะตามเชื้อโรคนั้นๆ
             ถ้ามีปัญหาเรื่องตกขาวมีกลิ่น คัน ตกขาวเปลี่ยนสี ไม่ควรสอดยามาเอง ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้ตรวจเชื้อได้ถูกต้อง ให้ยาได้ทันท่วงที ถ้าสอดยามา จะมียาเต็มในช่องคลอด จะตรวจไม่ได้
             ไม่ควรใช้น้ำยาล้างลึกเข้าไปในช่องคลอดก่อนมาตรวจ มะเร็งปากมดลูก หรือมาตรวจการ เพราะภาวะความเป็นกรดด่างถูกทำลาย เซลล์ที่หลุดลอกออกมาถูกล้างไปหมด
             ไม่ต้องงดอาหารและน้ำดื่มมาในการตรวจภายในมาตรวจได้เลย ทางสูตินรีแพทย์จะ ตรวจคลำเต้านมให้ด้วย ถ้ามีน้ำไหลจากหัวนม จะบีบใส่ slide ไปตรวจเซลล์มะเร็ง
            ในการวินิจฉัยบางโรค เช่น เยื่อบุมดลูกอยู่ผิดที่ อาจตรวจทางทวารหนักร่วมด้วยโดยใช้นิ้วชี้ตรวจทางช่องคลอด นิ้งกลางตรวจทางทวารหนัก และอีกมือคลำหน้าท้องด้วย

           เวลาตรวจภายในจะเริ่มจากดูต่อม Bartholin และต่อม Skene ซึ่งหลั่งสิ่งหล่อลื่นในช่องคลอดรวมทั้งกลิ่นด้วย ว่ามามีหนองหรือเป็น cyst ไหม มีการหย่อนด้านหลังของผนังช่องคลอดไหม ตรวจดูว่าหูรูดกระเพาะปัสสาวะหย่อนหรือไม่ ให้เบ่งดูหรือไอดูขณะมีน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะอยู่เต็ม ว่าเล็ดกระเด็นออกมาหรือไม่ มดลูกเคลื่อนต่ำลงมาหรือเปล่า มีหนองอยู่ในที่ปัสสาวะและในช่องคลอดหรือไม่ สังเกตปากมดลูกว่าปลิ้น มีรอยฉีกขาด อักเสบเรื้อรัง หรือมีหนองจากรูมดลูกหรือไม่ จังหวะนี้ก็จะตรวจมะเร็งปากมดลูกจากรูมดลูก รอบคอมดลูก และด้านหลังของช่องคลอด ส่วนลึกต่ำกว่าปากมดลูก นอกจากนี้ก็จะคลำขนาด ตำแหน่ง การเคลื่อนไหวของมดลูก กดแล้วเจ็บหรือไม่ รวมทั้งผิวเรียบหรือไม่ และคลำปีกมดลูก 2 ข้างด้วย เพื่อดูเนื้องอกรังไข่และท่อรังไข่ว่ามีความผิดปกติอย่างไรหรือไม่  ( Health Today โดย พญ.ประภาพรรณ นาควัชระ ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติ-นรีเวชวิทยา)



 











บทสรุป
                โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย  มีอุบัติการณ์  24.7  ต่อประชากรหญิง  100,000  คน  โดยในแต่ละปีจะมีหญิงไทยป็นมะเร็งปากมดลูกเพิ่มประมาณปีละ  7,000  คน  มะเร็งปากมดลูกยังเป็นสาเหตุการตาย(จากมะเร็ง)  อันดับที่สามของหญิงไทย  รองมาจากมะเร็งตับและปอด  โดยเฉลี่ยจะมีหญิงไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกวันละ  7  ราย  ช่วงอายุที่พบบ่อยคือ  45 – 55  ปี  เป็นช่วงวัยทำงานส่วนใหญ่มีบุตรที่ยังอยู่ในวัยเรียน  ซึ่งการเป็นมะเร็งปากมดลูกจะมีผลกระทบต่อครอบครัวผู้ป่วยอย่างมาก  เป็นที่ทราบกันดีว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่ป้องกันได้  ถ้าสามารถตรวจพบก่อนเป็นมะเร็ง
                รายงานจากสำนักงานวิจัยมะเร็งนานาชาติพบว่า  ในปี  พ.ศ.  2544  ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกใหม่ปีละ  6,192  ราย  เสียชีวิต  3,166  รายหรือประมาณร้อยละ  50  ถ้าคิดคำนวณแล้วจะมีสตรีไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกวันละ  7  ราย  มะเร็งปากมดลูกพบมากที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ  มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้และสามารถตรวจคัดกรองหาความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะก่อนมะเร็งซึ่งรักษาได้ผลดี










เอกสารอ้างอิง
ประสาร  ขจรรัตนเดช , นรินทร์  วรวุฒิ , ครั้งที่  1 (พฤศจิกายน  2546)  ตำรามะเร็งวิทยา  1  ,167-172                                
ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ถนนพยาไท  เขตปทุมวัน  กรุงเทพ  10330
จันทิรา  ภาวิไล , ฉบับที่  1  (เมษายน  2534)  มะเร็งปริทัศน์  CANCER  OVERVIEW , 27-39
                โรงพิมพ์ดาว  เชียงใหม่
ผศ.พญ.สุจิรา  จรัสศิลป์ , ครั้งที่  1  (พฤศจิกายน  2541)  มะเร็งที่รัก , 757-764
                โรงพิมพ์พุทธอเนกประสงค์  ตำบลบางไผ่  อำเภอเมือง  จังหวัดนนทบุรี  11000
สุรเกียรติ  อาชานานุภาพ , ครั้งที่  2 , 2543 , ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป  , กรุงเทพ
สมจิต  หนุเจริญกุล , ครั้งที่  5 , การพยาบาลทางอายุรศาสตร์  เล่ม  1 , 255-279
โครงการตำราภาควิชาพยาบาลศาสตร์  คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  มหาวิทยาลัยมหิดล
วลัยพร  นันท์ศุภวัฒน์ , ครั้งที่  2 , (มีนาคม  2552) , การพยาบาลผู้สูงอายุ 
ความท้าทายกับภาวะประชากรสูงอายุ , 204-206  , พิมพ์ที่  หจก.ขอนแก่นการพิมพ์
รองศาสตราจารย์  ดร.  ผ่องศรี  ศรีมรกต , การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ  เล่มที่  1 ,
486-488 , บริษัท  ไอกรุ๊ป  เพรส  จำกัด  ถนนศรีนครินทร์  แขวงสวนหลวง  เขตสวนหลวง  กรุงเทพ  10250
ผู้ช่วยศาสตร์ตราจารย์  ดร.วาริณี  เอี่ยมสวัสดิกุล , ครั้งที่ 11/2553 , การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 
ADULT  AND  ELDERLY  NURSING , 75-85 , สำนักพิมพ์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 
ปากเกร็ด  นนทบุรี  11120
               


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น