หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โรคเกาต์


คำนำ
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและค้นคว้า   ซึ่งรายงานเล่มนี้เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคเกาต์ว่าโรคเกาต์นั้นมีความหมายว่าอย่างไร  สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกาต์ว่าเกิดมาได้อย่างไร    มีลักษณะอาการอย่างไรและเมื่อเป็นโรคเกาต์แล้วเราตองทำตัวอย่างไรเพื่อเป็นการดูแลรักษาสุขภาพตัวเอง      ตลอดจนการปฏิบัติตนเมื่อทราบว่าตนเองเป็นโรคเกาต์   หลักการเลือกรับประทานอาหารที่ถูก้องของผู้ป่วยโรคเกาต์   การวินิจฉัยโรค   และการป้องกันโรคเกาต์  ซึ่งหากท่านผู้อ่านท่านใดสนใจความรู้เกี่ยวกับโรคเกาต์ก็สามารถมาศึกษาหาความรู้จากรายงานเล่มนี้ได้   ซึ่งรายงานเล่มนี้ก็ได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับโรคเกาต์ไว้เพื่อสมควรซึ่งก็อาจให้ความรู้แก่ท่านที่สนใจได้    ทางผู้จัดทำก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะให้ความรู้แก่ท่านผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย

                                                                  
                                                                                               นารีรัตน์       ใจเย็น
                                                                                                        ผู้จัดทำ








สารบัญ
                                                                                                                   หน้า
บทนำ............................................................................................................3
ความหมาขของโรคเกาค์.........................................................................................6
ภาวะที่เกี่ยวข้องกับระดับกรดยูริก แบ่งได้เป็น...................................................7
กรดยูริก คือ อะไร ......................................................................................................7
สาเหตุของโรคเก๊าท์................................................................................................7
อาการของโรค และการวินิจฉัยโรคเก๊าท์.............................................................9
 อาการของโรค .....................................................................................9
การวินิจฉัย...........................................................................................10
การรักษาโรคเกาต์.................................................................................................10
การรักษาโรคเก๊าท์ทำอย่างไร ..............................................................10
 แนวทางในการรักษาโรคเก๊าท์............................................................11
การรักษาในระยะเฉียบพลัน ...............................................................11
การรักษาภาวะกรดยูริคสูงในเลือด .....................................................12
การป้องกันโรคเกาต์.............................................................................................13
การป้องกันข้ออักเสบ..........................................................................13
การควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเกาต์.........................................13
อาหาร กับ โรคเก๊าต์ ............................................................................................14
อ้างอิง....................................................................................................................15
บทนำ
ในปัจจุบันชีวิตการเป็นอยู่ของคนไทยเรานั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ในหลายด้าน   ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม  อารมณ์  การเป็นอยู่  รวมถึงพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหาร  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น    อาจส่งผลกกระทบตามมาภายหลังได้และผลกระทบที่ตามมานั้นอาจเป็นปัญหาต่อการดำเนินชีวิต   ซึ่งอาจทำให้การดำเนินชีวิตของเรานั้นไม่ราบรื่น   ติดขัด  เมื่อการดำเนินชีวิตของเราไม่ราบรื่นสุดท้ายก็ทำให้เราไม่มีความสุข   และการเปลี่ยนแปลงในอีกด้านหนึ่งก็อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อการดำเนินชีวิตของเราได้อย่างมากเช่นกัน   คือปัญหาด้านสุขภาพซึ่งในปัจจุบันนั้น   ปัญหาเรื่องสุขภาพนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องให้ความสนใจ   ต้องให้ความสำคัญ  เพราะการดูแลสุขภาพของเรานั้นเป็นเรื่องสำคัญ   ถ้าสุขภาพของเราไม่เต็มร้อยจะทำอะไรก็ไม่สะดวกราบรื่นติดขัดไปหมด  ฉะนั้นเมื่อมีปัญหาด้าสุขภาพเกิดขึ้นเมื่อรู้แล้วเราจะต้องรีบแก้ไขและไปพบแพทย์เพื่อรับการรักาอย่างเร่งด่วนอย่ามัวนิ่งเฉย  เพราะอาจถึงแก่ชีวิตของเราได้   การที่คนเราจะมีชีวิตที่มีความสุขมีร่างกายที่สมบูรณ์  ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บตลอดชั่วอายุไขของตนเองนั้นสามารถหาได้ยากที่จะพบเห็นบุคคลที่จะมีคุณสมบัติดังที่กล่าวมาข้างต้น  เพราะเมื่อเรายิ่งมีอายุมากขึ้นเท่าไหร่ร่างกายและภูมิคุ้มกันโรคของเราก็อ่อนแอลงเท่านั้น   เมื่อภูมิคุมกันโรคของเราอ่อนแอโอกาสที่เราจะเป็นโรคต่างๆ  ก็มากขึ้น  ไม่เหมือนกับวัยหนุ่มสาวหรือวัยผู้ใหญ่ที่ในวัยนี้เขาก็จะมีภูมิคุ้มกันโรคที่ค่อนข้างดีกว่าวัยผู้สูงอายุเพราะร่างกายเขานั้นยังอยู่ในช่วงที่ทำงานได้ดีไม่เหมือนวัยผู้สูงอายุซึ่งร่างกายได้ถูกใช้งานมาเป็นเวลานานก็ย่อมต้องอ่อนแอตามอายุของตัวเองนั้นเอง
                โรคเกาต์จัดเป็นโรคที่เราต้องให้ความสำคัญโรคหนึ่ง  ซึ่งในตอนนี้ประชาชนคนไทยจำนวนมากที่ต้องเข้าไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลของภาครัฐหรือภาคเอกชน  เพื่อเป็นการบรรเทาอาการทรมานและความเจ็บปวด  ซึ่งในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคเกาต์จำนวนมากและมากกว่าผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์อีก  โรคเกาต์ในประเทศไทยมักมีอาการรุนแรงมากและพบได้ในทุกคนทุกชนชั้นไม่ว่าจะเป็นคนรวยหรือคนจน 
                จากสถิติของหน่ายโรคข้อ  โรงพยาบาลศิริราชได้รักษาผู้ป่วยใหม่ที่เป็นโรคนี้อย่างน้อย  140  รายต่อปี    ซึ่งโรคนี้ส่วนมากจะเป็นในเพศชายมากกว่าเพศหญิง  พบบ่อยในอายุ  40  ปีขึ้นไปสำหรับชายอาจพบได้ตั้งแต่อายุ  20  ปีเศษ   แต่ในเพหญิงมักพบในวัยกลางคนหรือหลังหมดประจำเดือนแล้ว  (ข้อมูลจาก :   หนังสือโรคและกระดูกข้อที่พบบ่อยในประเทศไทย, 2545) 
                โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง  ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากการคั่งของกรดยูริกในร่างกายมาก  จนตกตะกวนอยู่รอบๆ  ข้อ    ซึ่งกรดยูริกนั้นเป็นสารหรือของเสียชนิดหนึ่งี่ร่างกายต้องขับออก   เมื่อร่างกายขับออกไม่ได้จึงมีการตกตะกอนภายในข้อและระบบทางเดินปัสสาวะ  ทำให้มีกรดยูริกในเลือดสูงจึงทำให้มีอาการปวดข้อตามมา  โรคเกาต์นั้นจัดเป็นโรคที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยและกังวลมากที่สุด   หลายๆ คนกลัวโรคเกาต์ทั้งๆ ที่โรคเกาต์นั้นเป็นโรคที่มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้มากที่สุด  ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง  สม่ำเสมอและสามารถรับประทานยาได้อย่างต่อเนื่องบวกกับวิธีการบำบัดรักษาหลายๆ อย่างประกอบกันก็อาจทำให้ผู้ป่วยนั้นสามารถหายขาดจากโรคนี้ได้















โรคเกาต์
ความหมาขของโรคเกาค์
มีนักวิชาการได้ให้ความหมายโรคเกาต์ไว้ว่า
                (ยงยุทธ   วัชรดุลย์, 2545)   กล่าวว่า   โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบที่มีอาการปวดข้อรุนแรงชนิดหนึ่งสาเหตุเกิดจากการคั่งของกรดยูรกในร่างกายมาจนตกตะกอนอยู่รอบๆ  ส่วนประกอบของข้อและเยื้อบุในข้อ  คำว่า  “เกาต์” เปฌนคำศัพท์มาจากภาษาออังกฤษ  gout   ซึ่งมีรากศัพท์ภาจากภาษาละตินว่า  gutta  แปลว่าหยดของเหลว  โดยแพทย์โบราณสัณนิฐานว่าข้ออักเสบชนิดนี้เกิดจากการมีสารพิษบางอย่างหยดเข้าไปในข้อจนทำให้ข้ออักเสบรุนแรง
                (วิวัฒน์  สุรพรสวัสดิ์, 2546)  กล่าวว่า  โรคเกาต์คือกลุ่มของโรคที่เกิดจากการสะสมผลึกยูเรทบริเวณข้อ  เนื้อเยื่อรอบข้อและระบบทางเดินปัสสาวะ  ผู้ป่วยโรคเกาต์จึงมีกาอารอักเสบของข้อและเนื้อเยื่อรอบข้อ  มีก้อนผลึกยูเรทซึ่งเรียกว่าโทฟัส  มีนิ่วทางเดินปัสสาวะและมีการเชื่อมของไต
(ศจ.นพ.อุทิศดีสมโชค และประภัทธ์  โสตถ์โสภา, แหล่งข้อมูล : www.ramaclinic.com ,  14 กันยายน พ.ศ. 2554 :   21. 30 น.  )   กล่าวว่า เก๊าท์เป็นโรคปวดข้อชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติในการเผาผลาญสารพิวรีน (PURINE) ทำให้มีกรดยูริคในเลือดสูงขึ้น และตกตะกอนภายในข้อหรือระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีอาการปวดข้อ หรือนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะได้ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เป็นโรคถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
                         ( นิตยสารเกษตรศาสตร์  แหล่งข้อมูล : www.ku.ac.th/e-magazine , 14 กันยายน พ.ศ. 2554 :  21. 30 น.  ฉบับที่ 74 สิงหาคม 2549   ) กล่าวว่า   โรคเกาต์ เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกัน ของกรดยูริกภายในข้อ และประกอบกับการที่มีปริมาณกรดยูริกสูงด้วย คนแต่ละวัย ก็มีระดับกรดยูริกในเลือดที่แตกต่างกันได้ เช่น ผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน จะมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าคนในวัยอื่นๆ และนอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคเกาต์ มากกว่าผู้หญิงอีกด้วย


ภาวะที่เกี่ยวข้องกับระดับกรดยูริก แบ่งได้เป็น
1                 Asymptomatic Hyperuricemia หมายถึงภาวะที่มีกรดยูริกในเลือดสูงโดยที่ไม่มีอาการhttp://www.siamhealth.net/public_html/Disease/rheumatoid/ortho/gout.h1.jpg
2                 Acute Gouty Arthritis
                                                                                                             ดัดแปลงมาจาก   www.bknowledge
3                 Intercritical Gout
4                 Chronic Tophaceous Gout เมื่อโรคเกาต์ไม่ได้รักษาผู้ป่วยจะปวดข้อบ่อยขึ้น และปวดนานขึ้น ข้อที่ปวดจะเป็นหลายข้อ บางครั้งอาจจะเกิดอักเสบข้อไหล่ สะโพกและหลัง หากไม่รักษาก็จะเกิดการอักเสบเรื้อรังของข้อมีอาการปวดตลอด ข้อจะเสียหน้าที่และเกิดการตกตะกอนของเกลือmonosodium urate ที่ข้อ หู มือ แขน เข่าตั้งแต่เริ่มเป็นจนเกิด tophi ใช้เวลาประมาณ 10 ปี
กรดยูริก คือ อะไร
กรดยูริก เกิดจากสารพิวรีน ที่มีอยู่ในโปรตีนทุกชนิด กรดยูริกในร่างกายได้จาก 2 ทาง คือ

1.
จากอาหารที่รับประทาน ประมาณร้อยละ 20 ได้จากอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่รับประทาน ซึ่งจะถูกย่อยสลายจนเกิดเป็นกรดยูริก

2.
จากร่างกายสร้างขึ้นเอง ประมาณร้อยละ 80 ได้จากการสลายเซลล์ หรือเนื้อเยื่อในร่างกาย แล้วถูกเปลี่ยนให้เป็นกรดยูริก
โดยปกติ ร่างกายจะมีระดับกรดยูริกในเลือด ไม่สูงกว่า 7 มิลลิกรัมในเลือด 100 มิลลิลิตร เนื่องจากมีระบบควบคุม การสร้างและการกำจัดกรดยูริกอย่างสมดุล กรดยูริกจะถูกขับออกทางไต 2 ใน 3 ของที่ร่างกายสร้างขึ้น อีกส่วนหนึ่งจะขับออกทางน้ำลาย น้ำย่อย และน้ำดี ซึ่งจะถูกทำลายโดยแบคทีเรียในลำไส้
สาเหตุของโรคเก๊าท์
     1. ปัจจุบันเป็นที่ทราบดีว่า โรคเก๊าท์เกิดจากการที่ระดับของกรดยูริกสูงในเลือด ซึ่งเป็นผลมาจากการสะสมกรดยูริคในร่างกายจำนวนมาก โดยเฉลี่ยแล้วกรดยูริคจะตกผลึกเมื่อระดับของกรดยูริคในเลือดมากเกิน 6.8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร การที่ร่างกายมีกรดยูริคสะสมมากกว่าปกติ เป็นระยะเวลานาน ก็จะไปตกตะกอนอยู่บริเวณรอบๆ ข้อ หรือภายในข้อ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น 
  2. กรดยูริคเกิดจากการย่อยสลายสารพิวรีน ซึ่งพบได้ในเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ, เซี่ยงจี้ เป็นต้น ร่างกายจะย่อยพิวรีนจนกลายเป็นกรดยูริค และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี ในคนที่เป็นโรคเก๊าท์ พบว่าเกิดความผิดปกติของกระบวนการใช้และขับถ่ายสารพิวรีน 
  3. ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ทั้งหมด เกิดจากการที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้าหรือน้อย จนทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย และเกิดเป็นโรคเก๊าท์ขึ้น คนที่เป็นโรคนี้มักจะมีระดับกรดยูริกในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่เสมอไปทุกคน และหลายคนที่มีระดับกรดยูริกสูงในกระแสเลือดกลับไม่มีอาการข้ออักเสบจากโรคเกาต์ 
  4. ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 เกิดจากการที่ร่างกายสร้างกรดยูริคมากเกินไป พบว่ายูริคในเลือดที่สูงนั้น กว่าร้อยละ 90 เกิดจากการสร้างขึ้นในร่างกายเอง อาหารเป็นแหล่งกำเนิดของยูริคในเลือดน้อยกว่าร้อยละ 10 
  5. พบว่าร้อยละ 18 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จะมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเก๊าท์เช่นกัน และโรคพันธุกรรมที่พบน้อยบางชนิด ทำให้ร่างกายสร้างกรดยูริคออกมาในปริมาณที่มากเกิน ได้แก่ hypoxanthine-guanine phosphoribosyl transferase deficiency (Lesch-Nyhan syndrome),glucose-6-phosphatase deficiency (von Gierke disease), fructose1-phosphate aldolase deficiency, และ PP-ribose-P synthetase variants 
  6. โรคเก๊าท์มักเป็นกับผู้ชายวัยสูงอายุ เนื่องจากภาวะกรดยูริคในเลือดที่สูงนั้น จะยังไม่เกิดการตกตะกอนและเกิดข้ออักเสบทันที แต่ต้องใช้ระยะเวลาที่กรดยูริคในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายสิบปี พบว่าในผู้ชายที่มีกรดยูริคสูงนั้น ระดับของยูริคในเลือดจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น และสูงไปนานจนกว่าจะเริ่มมีอาการคืออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงระดับยูริคจะเริ่มสูงขึ้นหลังจากวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงโดยเฉพาะเอสโตรเจนจะมีผลทำให้กรดยูริคในเลือดไม่สูง 
  7. ผู้ป่วยโรคต่อไปนี้ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเก๊าท์มากขึ้น ได้แก่ โรคอ้วน, โรคเบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดแข็งผิดปกติ,ผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารตะกั่ว, โรคไตวายเรื้อรัง และโรคเลือดชนิด sickle cell anemia, myeloproliferative disease 
  8. การดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเก๊าท์ เนื่องจากไปขัดขวางกระบวนการขับกรดยูริกออกจากร่างกาย อีกทั้งแอลกอฮอล์ช่วยเร่งปฏิกิริยาการสร้างกรดยูริก โดยการเร่งกระบวนการการสลายตัวของสารอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตในเซลล์ การดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะการดื่มเบียร์ซึ่งจะทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ทันที เพราะเบียร์มีสารกวาโนซีนซึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นกรดยูริกในร่างกายได้มาก 
  9. ยาบางชนิดเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเก๊าท์ ได้แก่ แอสไพริน aspirin, ยาขับปัสสาวะกลุ่ม thiazide, ยารักษาโรคพาร์กินสัน levodopa, ยากดภูมิคุ้มกัน cyclosporine

อาการของโรค และการวินิจฉัยโรคเก๊าท์
 อาการของโรค
http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/rheumatoid/ortho/goutsite.jpeghttp://www.siamhealth.net/public_html/Disease/rheumatoid/ortho/gouterly.jpeghttp://www.siamhealth.net/public_html/Disease/rheumatoid/ortho/goutlate.jpeg
     ดัดแปลงมาจาก   www.bknowledge
ตำแหน่งที่ปวด       เริ่มเป็นข้อยังไม่ถูกทำลายหากเป็นนานข้อถูกทำลาย
1. อาการของโรคเก๊าท์ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเอง โดยไม่มีประวัติอุบัติเหตุ ไม่ได้รับการกระทบกระแทกรุนแรงใดๆ อยู่ๆ ก็เกิดบวมแดง และร้อนบริเวณรอบๆ ข้อ อาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการครั้งแรกมักเกิดตอนกลางคืน ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดมาก จนบางครั้งถึงกับเดินไม่ได้ 
2. อาการปวดเกิดขึ้นแม้ว่าจะอยู่เฉยๆ แตกต่างจากอาการปวดข้อจากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งถ้าอยู่เฉยๆ อาการปวดจะไม่ค่อยมี 
  3. ข้อที่เป็นโรคเก๊าท์มักจะเป็นข้อเดียว โดยโรคเก๊าท์มักเกิดขึ้นกับข้อทีละข้อ ไม่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันหลายข้อ และการอักเสบจะไม่กระจายไปยังข้ออื่นๆ แต่ในกรณีที่เป็นโรคเก๊าท์เรื้อรัง พบว่าการอักเสบอาจเป็นทีละสอง-สามข้อได้ 
  4. ข้อที่พบว่าเป็นโรคเก๊าท์ได้บ่อยที่สุด ได้แก่ ข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า ส่วนข้ออื่นๆ ที่พบ ได้แก่ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อต่อของกระดูกเท้า ข้อต่อของกระดูกมือ ข้อมือ และข้อศอก 
  5. ข้อที่พบว่าเป็นโรคเก๊าท์ได้น้อย ได้แก่ ข้อไหล่ ข้อสะโพก และข้อสันหลัง 
  6. ผิวหนังบริเวณรอบข้อที่อักเสบ จะมีสีแดง ร้อน และบวมเป่ง 
  7. ผู้ป่วยอาจมีอาการไข้ อ่อนเพลีย หนาวสั่น 
  8. ถ้าไม่ได้รับการเยียวยา อาการเจ็บปวด ระยะเริ่มแรกอาจหายไปภายในสองสามชั่วโมงหรืออยู่นานเป็นสัปดาห์ อาการข้ออักเสบอาจไม่เกิดขึ้นอีกแต่ทิ้งช่วงเป็นเวลานานถึงปีได้ เมื่อคนไข้มีอายุสูงขึ้น อาการเหล่านี้จะเกิดถี่กระชั้นบ่อยกว่าเดิมและอาการเจ็บปวดทรมานคงอยู่นานกว่าจะบรรเทาลง 
การวินิจฉัย
  • http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/rheumatoid/ortho/URIC.jpgจากประวัตมีการปวดข้อและการตรวจร่างกายดังกล่าวข้างต้นโรคเกาต์มักจะปวดที่ละข้อแต่ต่างจากโรค SLE หรือ Rheumatoid ที่มักปวดที่ละหลายข้อ
                                                                                                                                   ดัดแปลงมาจาก   www.bknowledge
  • เจาะเลือดพบกรด uric>7mg%
  • ตรวจหากรดยูริกในปัสสาวะที่เก็บ 24 ชั่วโมง ถ้าค่าสูงมีโอกาสเป็นนิ่วในไต
  • เจาะข้อนำน้ำในข้อตรวจพบเกลือ uric ดังรูป
  • X-RAY ข้อที่ปวดพบผลึก uric สะสมตามข้อ
การรักษา
การรักษาโรคเก๊าท์ทำอย่างไร
ปัจจุบันมีการรักษาโรคเก๊าท์ ดังนี้

1.
ขั้นแรก ถ้ามีอาการอักเสบของข้อต้องรีบรักษาโดยให้ยาลดการอักเสบ

2.
ให้ยาลดกรดยูริคเพื่อป้องกันอาการกำเริบของข้ออักเสบ

3.
รักษาโรคหรือสภาวะร่วมที่อาจจะมี เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะกรดยูริคสูงขึ้น

4.
ให้ความรู้เรื่องโรคเก๊าท์และให้คำปรึกษา เพื่อผู้ป่วยปฏิบัติตนในการควบคุมรักษาโรคได้ดีขึ้น
 แนวทางในการรักษาโรคเก๊าท์
 แนวทางในการรักษาโรค การรักษาโรคเก๊าท์ในปัจจุบัน อาศัยหลักสำคัญ 3 ประการ
         1. รักษาอาการข้ออักเสบเฉียบพลันให้หายเร็วที่สุด โดยเน้นที่เริ่มให้ยาทันที เลือกใช้ยาลดการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ ในขนาดและระยะเวลาที่เหมาะสม และระมัดระวังผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้นพึงระลึกไว้เสมอว่าการรักษาอาการข้ออักเสบจนหาย ไม่ได้หมายความว่ารักษาโรคเก๊าท์หายแล้ว ผลึกของกรดยูริคยังคงอยู่ภายในข้อ และอาจก่อให้เกิดการอักเสบขึ้นอีกเมื่อใดก็ได้ 
  2. ป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบของข้อจากผลึกของกรดยูริค โดยการใช้ยาลดการอักเสบขนาดต่ำต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน 
  3. รักษาภาวะกรดยูริคสูงในเลือด และป้องกันไม่ให้โรครุนแรงมากขึ้น โดยแก้ไขปัญหาทางเมตาบอลิกไปพร้อมๆ กัน 

การรักษาในระยะเฉียบพลัน
  1. จุดประสงค์เพื่อรักษาอาการข้ออักเสบเฉียบพลันให้หายเร็วที่สุด โดยเน้นที่เริ่มให้ยาทันที เลือกใช้ยาลดการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ ในขนาดและระยะเวลาที่เหมาะสม และระมัดระวังผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้น 
  2. ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น อินโดเมธาซิน (indomethacin) อินโดเมธาซิน (indomethacin) รับประทานในขนาด 50 มิลลิกรัม วันละ 3 เวลา เป็นเวลา 2-3 วัน จากนั้นลดขนาดลงเป็น 25 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 4-10 วัน 
  3. ยาโคลชิซิน (colchicine) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการข้ออักเสบเฉียบพลันจากโรคเก๊าท์มาเป็นเวลานาน ได้ผลดีเมื่อให้ยาตั้งแต่ระยะแรก ๆ ของอาการ โดยใช้ยาในขนาด รับประทานวันละไม่เกิน 3 เม็ด เช่น 1 เม็ดหลังอาหาร 3 มื้อ จะทำให้ผู้ป่วยหายจากข้ออักเสบในเวลา 1-2 วัน ที่สำคัญคือ ต้องระวังผลข้างเคียงเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย บางครั้งอาจมีผู้แนะนำให้กินยาโคลชิซิน 1 เม็ด ทุกชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด หรือจนกว่าจะท้องเสีย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่กินยาด้วยวิธีนี้ มักจะท้องเสียก่อนหายปวดเสมอ 
  4. การใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) พบว่ามีประสิทธิภาพดี ทั้งรูปยารับประทาน ยาฉีดเข้าเส้นเลือด ยาฉีดเข้ากล้าม และยาฉีดเข้าข้อ เพรดนิโซโลน (prednisolone) รับประทานในขนาด 30 มิลลิกรัม ทุกวัน ค่อยๆลดขนาดลงจนสามารถหยุดยาได้ภายในหนึ่งสัปดาห์ เมธิลเพรดนิโซโลน (methylprednisolone) ขนาด 40 มิลลิกรัม ใช้ฉีดเข้าเส้นเลือด ไทรแอมซิโนโลน (triamcinolone) ขนาด 40 มิลลิกรัม ใช้ฉีดเข้ากล้าม 
  5. การพักผ่อนให้เต็มที่ ดื่มน้ำมากๆ พักการใช้ข้อ ยกส่วนที่ปวดบวมให้สูง และประคบด้วยความเย็น พบว่าช่วยให้อาการอักเสบหายเร็วขึ้นกว่าการใช้ยาเพียงอย่างเดียว 
  6. หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาขับปัสสาวะ อาหารที่มีพิวรีนสูง แอลกอฮอล์ และไม่ให้ยาลดกรดยูริคขณะที่มีอาการข้ออักเสบ 
การรักษาภาวะกรดยูริคสูงในเลือด
 1. การรักษาระยะยาว โดยใช้ยาลดกรดยูริคในเลือด โดยถือหลักการว่า ถ้าเราลดระดับยูริคในเลือดได้ ต่ำกว่า 7 มก./ดล. จะทำให้ยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกมา และขับถ่ายออกจนหมดได้ ข้อบ่งชี้ในการใช้ยาลดกรดยูริคในเลือด ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการ >3 ครั้งต่อปี, ผู้ที่มีก้อนโทฟัส และผู้ที่มีนิ่วกรดยูริค 
  2. ยาที่นิยมใช้ได้แก่ ยาอัลโลพูรินอล (allopurinol) ขนาด 100-300 มก. กินวันละครั้ง ยานี้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง กินยาสม่ำเสมอ และกินไปนานอย่างน้อย 3-5 ปี เพื่อกำจัดกรดยูริคให้หมดไปจากร่างกาย การกิน ๆ หยุด ๆ จะทำให้แพ้ยาได้ง่าย ซึ่งเป็นผื่นผิวหนังชนิดรุนแรง 
  3. ยาอีกกลุ่มหนึ่งที่นิยมใช้เช่นกัน คือ โปรเบเนซิด probenecid ขนาด 250 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 2 ครั้ง เพิ่มขนาดยาสูงสุดได้ถึง 1500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง 
  4. ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ พบว่าการขับกรดยูริคออกทางไตลดน้อยลง ยาที่เพิ่มการขับกรดยูริค เช่น โปรเบเนซิด (probenecid) และ ซัลฟินพัยราโซน (sulfinpyrazone) จึงได้รับความนิยมที่จะใช้เป็นยาตัวแรกมากกว่า ในกรณีที่การทำหน้าที่ของไตเริ่มบกพร่อง การใช้ยาเบนซโบรมาโรน (benzbromarone) จะได้ผลดีกว่า 
  5. ในปี 2005 ได้มีรายงานผลการรักษาด้วยยาลดกรดยูริคในเลือดชนิดใหม่ 2 ชนิด คือ uricase และ febuxostat พบว่าได้ผลดีมาก ผลข้างเคียงน้อยกว่ายาชนิดเก่าที่เคยใช้กันมา 
การป้องกัน
การป้องกันข้ออักเสบ
  • ให้ colchicine 0.6 mg วันละ 1-4 เม็ด ถ้าเริ่มมีอาการของข้ออักเสบให้เพิ่มได้อีก วันละ 1-2 เม็ด
  • ให้ยาลดกรด uric ในกรณีที่กรด uric >9 mg%และยังมีการอักเสบของข้อหรือไตเริ่มมีอาการเสื่อม เช่น probenecid 500 mg ให้ครึ่งเม็ดวันละ2 ครั้งค่อยๆเพิ่มเนื่องจากยานี้จะเพิ่มการขับกรดยูริกทางปัสสาวะดังนั้นไม่ควรให้ในผู้ป่วยที่มีนิ่วในไตและควรแนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ และหรือ allopurinol 200-600 mg/วัน  ยานี้ควรระวังในผู้ป่วยที่ไตเสื่อมเนื่องจากอาจจะเกิดอาการผื่นและแพ้ยาได้ ยากลุ่มนี้ไม่ควรให้ขณะที่มีการอักเสบของข้อเพราะจะทำให้ข้ออักเสบเพิ่มขึ้น
  • ให้ดื่มน้ำมากกว่า 3 ลิตร/วัน
การควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเกาต์
  • กรรมพันธุ์ ผู้ชายจะเริ่มอายุ 35-40 ปี ส่วนผู้หญิงเริ่ม 45 ปีไปแล้ว
  • อ้วน ถ้าน้ำหนักเกิน จะส่งผลให้กรดยูริกในเลือดสูงขึ้นด้วย
  • อาหารที่มี purine สูง
  • อาหารที่มีไขมันสูง
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • ยาที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูงจะลดการขับกรดยูริก ยา aspirin ยารักษาวัณโรค เช่น pyrazinamide , ethambutol,niacin
  • เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะกระตุ้นให้มีการสร้างกรดยูริกเพิ่ม
  • ไตเสื่อม
  • โรคที่ทำให้กรดยูริกสูงเช่นโรคมะเร็ง โรคเม็ดเลือดแดงแตก
  • ภาวะขาดน้ำ




อาหาร กับ โรคเก๊าต์
ปริมาณสารพิวรีนในอาหารต่างๆ (ในปริมาณอาหาร 100 กรัม)
อาหาร
มิลลิกรัม
อาหาร
มิลลิกรัม
เครื่องในไก่
290
ผักตำลึง
89
ถั่วเหลือง
263
เนื้อ
83
ชะอม
247
ถั่วลิสง
74
ตับ
241
หมู
70
กระถิน
226
ดอกกะหล่ำ
68
ถั่วแดง
221
ผักบุ้ง
54
ถั่วเขียว
213
ปลาหมึก
53
กึ๋น
212
หน่อไม้
47
กุ้ง
205
ถั่วฝักยาว
41
ปลาดุก
194
ถั่วลันเตา
41
ถั่วดำ
180
ต้นกระเทียม
39
ไก่
157
ผักคะน้า
34
เซ่งจี้
152
ผักบุ้งจีน
33
ใบขี้เหล็ก
133
ถั่วงอก, ถั่วแขก
28
สะตอ
122
ถั่วพู
19

        คุณรู้ไหมว่า ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาการกินของเรา เพราะว่าถ้ากินไม่ดี ก็เกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น แต่ถ้ารู้จักเลือกกินให้เหมาะสม จะทำให้คุณสามารถห่างไกลโรคได้ ซึ่งโรคเกาต์ ก็เป็นอีกโรคหนึ่ง ที่เกิดจากปัญหาในเรื่องอาหารการกิน วิธีการป้องกันและบรรเทา อาการเจ็บป่วยจากโรคเกาต์ที่ดีที่สุด คือ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีพิวรีนสูง เพราะว่าจะทำให้เกิดการอักเสบของข้อขึ้นอีก


อ้างอิง
            ยงยุทธ   วัชรดุลย์.   โรคกระดูกและข้อที่พบบ่อยในประเทศไทย . กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 
                             2545.   หน้า  143 – 149
                วิวัฒน์   สุรพรสวัสดิ์.  รูมาติสซัม  11  โรคข้อที่รอไม่ได้ . กรุงเทพฯ  : สุขภาพใจ,  2546. 
                            หน้า   54 – 69
www.ku.ac.th/e-magazine.
www.bknowledge.
  
   
   

               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น